ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้ศึกษา นางเกตวลี ศรีทอง
โรงเรียน กาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์
ปีที่ศึกษา 2558
บทคัดย่อ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อนวัตกรรมใหม่ที่เสนอเนื้อหาไปยังผู้เรียนโดยตรงผ่านจอภาพหรือแป้นพิมพ์ โดยนำเสนอเนื้อหาและลำดับวิธีการสอนไว้อย่างเป็นระบบ สามารถใช้งานเมื่อไรก็ได้ มีสีสันสวยงามดึงดูดความสนใจของนักเรียน ประหยัดเวลาในการสอนและมีข้อได้เปรียบเหนือสื่ออื่น ๆ เป็นสื่อการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สามารถนำเสนอได้ทั้งตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง และ ภาพเคลื่อนไหว มีเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน นักเรียนมีการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับโปรแกรม สามารถทราบผลการเรียนรู้ของตนเองได้ทันที เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ประสบการณ์ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการเรียนการสอน การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย
เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ลำดับและอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ลำดับและอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ลำดับและอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ลำดับและอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 4 ชนิด คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ลำดับและอนุกรม จำนวน 8 หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 10 แผน จำนวน 20 ชั่วโมง แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ลำดับและอนุกรม เป็นแบบทดสอบปรนัย เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.25 ถึง 0.88 มีค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.27 ถึง 0.85 และ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.27 ถึง 0.83 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ลำดับและอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.36/79.29
มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ลำดับและอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าดัชนีประสิทธิผลในการเรียนรู้ เท่ากับ 0.7687 ซึ่งหมายความว่า
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.7687 คิดเป็นร้อยละ 76.87
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง ลำดับและอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ลำดับและอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักเรียนได้รับความรู้ในเนื้อหาได้เช่นเดียวกับเรียนกับครู ( = 4.89) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนน่าสนใจ ( = 4.82) และความสอดคล้องของผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับเนื้อหาวิชา ( = 4.79) ตามลำดับ
โดยสรุป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ลำดับและอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียน สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามที่ต้องการ