ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือ โรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง
ผู้วิจัย อิทธินันท์ ยายอด
คำสำคัญ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผล
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือ โรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือ โรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง 3) เพื่อทดลองใช้และเพื่อประเมิน รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือ โรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง 4) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือ โรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง
วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือ โรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง โดยการสังเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และโดยการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือ โรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้และการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือ โรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง ที่โรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลวังบาล อำเภอ หล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ มี 2 ส่วน คือ 1) ผลการทดลองใช้รูปแบบโดยการสอบถามความคิดเห็นระดับการปฏิบัติงานตามรูปแบบจากครูผู้สอน จำนวน 6 คน 2) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบโดยใช้ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียนเปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2557 กับปีการศึกษา 2558 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบจากครูผู้สอนจำนวน 6 คน และประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมลูกเสือจากนักเรียน จำนวน 44 คน รวม 50 คน ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือ โรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยจากผลการประเมินรายบุคคลในแต่ละคุณลักษณะในภาพรวมทั้งโรงเรียนที่ได้ระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 80 ลงมา โดยสอบถามความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไขรายการในรูปแบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือโรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง มี 5 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1) ด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา 2) ด้านจิตศึกษาเสริมปัญญาเชิงบวก 3) ด้านสัมพันธภาพที่ดี 4) ด้านตระหนักรู้เห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่น 5) ด้านแบบอย่างที่ดี
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือโรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง พบว่า มี 5 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1) ด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบย่อย มีรายการ 14 รายการ 2) ด้านจิตศึกษาเสริมปัญญาเชิงบวก มี 4 องค์ประกอบย่อย มีรายการ 14 รายการ 3) ด้านสัมพันธภาพที่ดี มี 4 องค์ประกอบย่อย มีรายการ 14 รายการ 4) ด้านตระหนักรู้เห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่น มี 4 องค์ประกอบย่อย มีรายการ 15 รายการ 5 ) ด้านแบบอย่างที่ดี มี 4 องค์ประกอบย่อย มีรายการ 13 รายการ
3. ผลการทดลองใช้และผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือโรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง พบว่า
3.1 ผลการทดลองใช้รูปแบบในภาพรวมครูผู้สอนมีความเห็นว่าการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบหลัก
3.2 ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบ
3.1.1 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน เปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2557 กับ ปีการศึกษา 2558 ในภาพรวมทั้งโรงเรียน นักเรียนได้ระดับคุณภาพดีเยี่ยมเพิ่มขึ้นทุกข้อ ระดับคุณภาพดีลดลงทุกข้อ และระดับคุณภาพผ่านลดลงทุกข้อ สำหรับระดับคุณภาพไม่ผ่านไม่มี
3.2.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบ ในภาพรวม ครูผู้สอนมีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบหลัก
3.2.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมลูกเสือ ในภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ระดับมากที่สุด 3 องค์ประกอบหลัก ระดับมาก 2 องค์ประกอบหลัก
4. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กิจกรรมลูกเสือโรงเรียนบ้านเหมืองแบ่ง พบว่า ผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาให้ข้อเสนอแนะปรับปรุง แก้ไขรายการในรูปแบบฯ ทั้งสิ้นจำนวน 26 รายการ คือ องค์ประกอบหลักที่ 1 ด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา จำนวน 4 รายการ องค์ประกอบหลักที่ 2 ด้านจิตศึกษาเสริมปัญญาเชิงบวก จำนวน 4 รายการ องค์ประกอบหลักที่ 3 ด้านสัมพันธภาพที่ดี จำนวน 4 รายการ องค์ประกอบหลักที่ 4 ด้านตระหนักรู้เห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่น จำนวน 10 รายการ และองค์ประกอบหลักที่ 5 ด้านแบบอย่างที่ดี จำนวน 4 รายการ