ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักสวนครัว
ปลอดสารพิษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นางนงลักษณ์ ไชยทิพย์
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบ การเรียน เรื่อง การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน การนำเสนอข้อมูลใช้ตารางประกอบคำบรรยาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ การหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิ ภาพเท่ากับ 82.68 / 87.25 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นหลังจากเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลต่างของคะแนนเท่ากับ 12.78 คิดเป็นร้อยละ 42.61
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.19