ชื่อเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผู้วิจัย นางสาวธนพร โชติชุ่ม
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนพระทองคำวิทยา
ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แหล่งข้อมูลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง แหล่งข้อมูลการสร้างและพัฒนารูปแบบประกอบด้วย ผลจากการจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักเรียนที่สำหรับทดลองใช้เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แหล่งข้อมูลการทดลองใช้และประเมินผลของรูปแบบโดยศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ (แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา) และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (Dependent samples t-test ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบสังเคราะห์จากแนวคิดการออกแบบรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับคอนสตรัคติวิสต์ มีกรอบการแนวคิดวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เทคนิควิธีการสอนวิทยาศาสตร์แบบคอนสตรัคติวิสต์และการบูรณาการสอดแทรกเป็นการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประกอบด้วย 8 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 สาระหลัก องค์ประกอบที่ 5 ระบบสังคม องค์ประกอบที่ 6 หลักการตอบสนอง องค์ประกอบที่ 7 สิ่งสนับสนุน และองค์ประกอบที่ 8 เงื่อนไขในการนำรูปแบบการสอนไปใช้ และขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้มี 4 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) ขั้นเชิญชวนสร้างความสนใจ 2) ขั้นสำรวจและค้นหา 3) ขั้นนำเสนอคำอธิบายและลงข้อสรุป และ 4) ขั้นการนำไปปฏิบัติ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า
3.1 นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 ทักษะ อยู่ในระดับสูงทุกด้าน
3.3 นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการแก้ปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุดภูมิปัญญาไทยตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.61, S.D.=0.13)