การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์(Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2)ตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์(Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ 2.1)เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2.2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2.3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557โรงเรียนเทศบาล 1 (ถนนนครนอก) จำนวน 35 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ̅)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์(Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้มีชื่อเรียกว่า “Kanchana Model” มีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียน การสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นรู้จักปัญหา (Know problems: K)ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (analysis: a)ขั้นที่ 3 ขั้นให้คำแนะนำในการแก้ปัญหา (needs to advise: n)ขั้นที่ 4 ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (comprehend: c)ขั้นที่ 5ขั้นหาแนวทางในการจัดการปัญหา (handle: h)ขั้นที่ 6 ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา (action: a)ขั้นที่ 7 ขั้นอภิปรายผลและสรุป (needs for summary: n)ขั้นที่ 8 ขั้นนำไปประยุกต์ใช้ (application: a)
2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เจตคติในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (KanchanaModel) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.64, S.D. = 0.11)
5. ผลการขยายผล พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เจตคติในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ .01 และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด