บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น
จังหวัดขอนแก่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างและพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลการใช้และปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 38 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ทดลองใช้ในภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2557 เป็นเวลา 20 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง คือ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) หลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบวัดทักษะสังคม 7) แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ควรนำข้อมูลท้องถิ่น
จังหวัดขอนแก่น มาใช้เป็นสาระการเรียนรู้ รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. หลักสูตรที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดหมาย 3)โครงสร้างเวลาเรียน
4)โครงสร้างเนื้อหา 5) แนวทางการจัดการเรียนรู้ 6) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 7) การวัดและประเมินผล หลักสูตรมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเหมาะสมในระดับมาก
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อ
การท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน
สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4. ทักษะทางสังคมของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อ
การท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางภาษา
มีทักษะสังคม และเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรท้องถิ่น, ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว
THE DEVELOPMENT OF ENGLISH CURRICULUM BASED ON THE TOPICS OF KHON KAEN PROVINCE TOURISM AND SOCIAL SKILLS
FOR MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS
ABSTRACT
The objectives of this research were 1) to study of the fundamental data and need for the development of the English curriculum based on Khon Kaen tourism for Mathayomsuksa 3 students 2) to construct and develop the English curriculum 3) to implement the English curriculum and 4) to evaluate and improve of the English curriculum. The samples were 38 Mathayomsuksa 3 students in the first semester of academic year 2014 at Nongnoprachasan School, Kranuan district in Khon Kaen Province. The experiment was covered 20 hours. The research design was onegroup pretest posttest design.
The research instruments were 1) a questionnaire 2) an interview form 3) the English curriculum based on Khon Kaen tourism 4) lesson plans 5) achievement test 6) social skill tests and 7) a questionnaire used for students satisfaction.. The obtained data were analyzed by content analysis, percentage (%), mean ( ), standard deviation (S.D.) and t-test dependent.
The findings were as follows:
1. Students and teachers need English curriculum based on Khon Kaen tourism.
2. The curriculum concluded 1) principle 2) goal 3) learning schedule structure 4) content structure 5) learning approach 6) learning material and source and 7) assessment. The content validity of curriculum was at high level.
3. The students learning achievement after using English curriculum based on Khon Kaen tourism was significantly higher than that before studying English curriculum based on Khon Kaen tourism at .01 level.
4. The students social skills after using English curriculum based on Khon Kaen tourism was significantly higher than that before studying English curriculum based on Khon Kaen tourism at .01 level.
5. The students satisfaction toward English curriculum based on Khon Kaen tourism was at high level.
The development of English curriculum based on Khon Kaen tourism for Mathayomsuksa 3 students can improve English skills and social skills. Besides, they can realize the importance of local learning sources.