บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลักของโรงเรียนนนทรีวิทยาคม อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลักและเพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลักของโรงเรียนนนทรีวิทยาคม อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามเกณฑ์มาตรฐานการบริหารฐานโรงเรียน 3 ด้าน คือ ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม และด้านการบริหารจัดการโรงเรียนที่ดี มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการบริหาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก ขั้นตอนที่ 2 ร่างรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลักและนำเสนอรูปแบบฉบับร่าง ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชน เป็นหลักและความเหมาะสมในการนำไปใช้ โดยสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (focus group) จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 4 ขั้นประเมินผลการใช้รูปแบบโดยประเมินผลการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูล คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน คณะกรรมการบริหารงานวิชาการ 5 คน คณะกรรมการบริหารงานบุคคล 5 คน คณะกรรมการบริหารงานงบประมาณ 5 คน คณะกรรมการบริหารงานทั่วไป 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลักของโรงเรียนนนทรีวิทยาคม อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 3 ด้าน คือ 1) ด้านการกระจายอำนาจ มีการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ทันสมัยโดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคม สามารถเสนอขออัตรากำลังและมาตรฐานตำแหน่ง มีส่วนร่วมในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรตามความต้องการ มีระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงาน มีการระดมทรัพยากรและการลงทุน สามารถบริหารงบประมาณเพื่อประโยชน์ของผู้เรียน มีการตรวจสอบการใช้เงินงบประมาณ มีการรายงานการใช้เงินต่อต้นสังกัด มีการกำหนดมาตรฐานการบริหารงาน กำหนดมาตรการตรวจสอบ การประชาสัมพันธ์ และกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษา จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน การกำกับ และติดตามการดำเนินงาน 2) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีกระบวนการสรรหาและคัดเลือกกรรมการสถานศึกษา มีสัดส่วนกรรมการมีความเข้าใจในเป้าหมายการดำเนินงาน มีความสามัคคีในการทำงาน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและวางแผน จัดวาระการประชุมที่มุ่งพัฒนาการศึกษา นำมติ ที่ประชุมไปสู่การปฏิบัติ และมีการบริหารเครือข่าย ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาได้รับเชิญเข้าร่วมกิจกรรม มีส่วนร่วมในกระบวนการบริหาร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประชุมและนำมติที่ประชุมไปสู่การปฏิบัติ กำหนดแผนพัฒนาบุคลากร การบริหารงบประมาณ และการประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียน 3) ด้านการบริหารจัดการโรงเรียนที่ดี มุ่งเน้นประโยชน์ของผู้เรียน จุดหมายการศึกษา มีและใช้ฐานข้อมูลและทรัพยากรของชุมชนในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีและใช้ฐานข้อมูลนักเรียนและสภาพครอบครัวเพื่อส่งเสริมและดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหาร การตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบการดำเนินงาน มีวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นที่ยอมรับ คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งของสถานศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ที่พร้อมรับการประเมินภายนอก มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านบริหารงานทั่วไปโดยคณะกรรมการภายนอก มีหลักฐานการใช้และพัฒนาสารสนเทศเป็นฐานการตัดสินใจและการบริหารได้ตรงกับความต้องการและมีประโยชน์ต่อผู้เรียนและสามารถตรวจสอบได้ และผลการประเมินการใช้รูปแบบ การบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลักของโรงเรียนนนทรีวิทยาคม อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 3 ด้าน คือ 1) ด้านการกระจายอำนาจ สถานศึกษามีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารจัดการด้านวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารจัดการงบประมาณ และการบริหารทั่วไปเพื่อประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมเหมาะสมมากที่สุด 2) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม สถานศึกษามีระบบการบริหารและจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยองค์คณะบุคคลและเครือข่าย เปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ในกระบวนการบริหารและจัดการศึกษา โดยรวมเหมาะสมมากที่สุด 3) ด้านการบริหารจัดการโรงเรียนที่ดี สถานศึกษา มีระบบการบริหารและจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลัก ธรรมาภิบาล พร้อมรับการตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยรวมเหมาะสมมากที่สุด
 
ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนนนทรีวิทยาคม
อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
ผู้ประเมิน นายวิสุทธิ์ ปังสมบูรณ์สุข
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนนนทรีวิทยาคม อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนนนทรีวิทยาคม อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยนำรูปแบบการประเมินแบบ (CIPPIEST Model) จากแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม มาประยุกต์ใช้ โดยขยายการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ออกเป็นการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และการประเมินการขยายผล (Transportability Evaluation) ของสิ่งที่ได้รับการประเมินกับกรอบการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 118 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท (Context) หลักการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด ด้านความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการกับนโยบายการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ ความสอดคล้องระหว่างโครงการกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียน ผู้ปกครองและท้องถิ่น โดยรวมมีความสอดคล้องมากที่สุด ด้านความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมมีความเป็นไปได้มากที่สุด
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ความพร้อมเกี่ยวกับสิ่งที่ป้อนเข้าสู่การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมมีความพร้อมมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) การดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ในโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมมีการปฏิบัติมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต (Product) คุณภาพการจัดกิจกรรมและมาตรฐานการศึกษาตามโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด
5. ด้านผลกระทบ (Impact) การดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเกิดผลกระทบทางบวก เป้าหมายการพัฒนาด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน และด้านผู้เรียนมีความชัดเจนขึ้น
6. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาด้านปัจจัยทางการศึกษา ด้านกระบวนการทางการศึกษาและด้านผลผลิตทางการศึกษามีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาและนักเรียน โดยรวมความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามากที่สุด
7. ด้านความยั่งยืน (Sustainability) การดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีศักยภาพในการดำเนินการ สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา
8. ด้านการขยายผล (Transportability) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด สามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนให้ดีขึ้น และรองรับ การประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกระยะ 5 ปี