1. ความสัมพันธ์ระหว่าง Best Practice กับเป้าหมายของสถานศึกษา
โรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณอนุสรณ์จัดการศึกษาเรียนรวม นักเรียนปกติและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จะได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน แต่ในส่วนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จำเป็นต้องจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับนักเรียนเพื่อการพัฒนาได้เต็มศักยภาพอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์และด้านจิตใจ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ1 การสร้างโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับกลยุทธ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ 2 ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาการโรงเรียนอย่างกว้างขวางทั่วถึง (กิจกรรมสำคัญ คือ ส่งเสริมเด็กปฐมวันเข้าเรียน การเกณฑ์เด็กภาคบังคับ ทุกคน ทุกกลุ่มเข้าโรงเรียนโดยเพิ่มโอกาสเด็กตกหล่นเข้าเรียนและส่งเสริมเรียนต่อ ม.ปลาย)
ข้อ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน และท้องถิ่นในการจัดการศึกษา (กิจกรรมสำคัญ คือ เพิ่มบทบาทคณะกรรมการการศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาปรับโครงสร้างและเพิ่มบทบาทหน้าที่สมาคมผู้ปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาแบบสหการ)
จากยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ดังกล่าวมาแล้วนั้น มีประเด็นสำคัญ 2 ประการ คือ การให้โอกาสทางการศึกษากับนักเรียนเรียนร่วมและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ เน้นการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ อีกทั้งการสร้างโอกาสเพื่อพัฒนานักเรียนเรียนร่วม/เรียนรวมให้มีความสามารถตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
2. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนา Best Practice
กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมนันทนาการเป็นกิจกรรมที่ช่วยทำให้สดชื่น ช่วยขจัดหรือผ่อนคลายความเมื่อยล้าทางด้านร่างกายและจิตใจ ในวัยเด็กนั้นกิจกรรมนันทนาการหรือการละเล่นจะมีความสำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้
ความหมายของกิจกรรมนันทนาการ
บันเทิง เกิดปรางค์ (2543,หน้า 31) กิจกรรมนันทนาการ หมายถึง การที่บุคคลใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ ตามความต้องการและสนใจ แสวงหาความสุขในเวลาว่างที่มีอยู่ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นในสังคม
ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ
พีระพงศ์ บุญศิริ (2536,หน้า44) ได้แบ่งกิจกรรมนันทนาการที่จัดสำหรับคนพิการ ไว้ 4 ประเภท ดังนี้
1. กิจกรรมเข้าจังหวะ
2. กิจกรรมเกมกีฬา
3. กิจกรรมทางศิลปหัตถกรรม
4. กิจกรรมงานอดิเรก
กิจกรรมนันทนาการสำหรับเด็กพิเศษ
กิจกรรมนันทนาการมีความสำคัญกับเด็กพิเศษ เด็กที่มีความบกพร่อง เพราะจะช่วย พัฒนาทางด้านร่างกายแล้วยังช่วยสุขภาพจิตของเด็ก ให้ได้รับความผ่อนคลาย ความตึงเครียดทางสมองอีกด้วย เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ร่วมเล่นด้วยกัน รับความสนุกสนานพอใจ (ยูเนสโก,2525,หน้า12) ได้กล่าวจุดมุ่งหมายของการเล่นสำหรับเด็กพิเศษ ไว้ดังนี้
1. เพื่อสร้างความสนุกสนานให้กับเด็ก
2. เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกาย พัฒนาความเคลื่อนไหวของผู้เล่นให้มีประสิทธิภาพ
3. เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ
4. เพื่อเสริมสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้เล่นด้วยกัน
5. เพื่อให้ผู้เล่นทุกคนได้แสองออกอย่างเต็มที่
จากนักวิชาการได้กล่าวถึงกิจกรรมนันทนาการสำหรับเด็กพิเศษ มีความสำคัญในด้านสร้างความสนุกสนานให้กับเด็ก เสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและพัฒนาความเคลื่อนไหวของผู้เล่นให้มีประสิทธิภาพ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ เสริมสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้เล่นด้วยกัน และผู้เรียนได้แสองออกอย่างเต็มที่ ผู้พัฒนา Best Practice จึงขอนำกิจกรรมนันทนาการมาใช้แก้ปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณอนุสรณ์ ที่มีปัญหาทางด้านทักษะทางสังคม (อ้างอิงจากภาคผนวกแผน IEP) ซึ่งมีจำนวน 2 คน ผู้พัฒนา Best Practice ได้แบ่งกิจกรรมนันทนาการไว้ 5 กิจกรรม ไว้ดังนี้
1. ส้มตำรสเด็ด
2. ขอใจแลกเบอร์โทร
3. ภาพพิมพ์จากธรรมชาติ
4. ตะกร้อพาเพลิน
5. ลูกบอลดนตรี
ทักษะทางสังคมในห้องเรียน
ทักษะทางสังคม เป็นทักษะที่สำคัญในการทำงานร่วมกับผู้อื่น จรูญ คูณมี (2520) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของทักษะทางสังคมไว้ ดังนี้
1. ทักษะทางสังคมช่วยส่งเสริมความร่วมมือของนักเรียน และพัฒนาทักษะและเจตคติ
2. ทักษะทางสังคมพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในชั้นเรียน
3. ทักษะทางสังคมช่วยสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนนักเรียน
องค์ประกอบของทักษะทางสังคม
ปัทมาวดี บุญยสวัสดิ์ (2536,หน้า3-4) ได้แบ่งทักษะทางสังคมไว้ดังนี้
1. การมีเคารพต่อระเบียบวินัยของตนเองและกลุ่ม
2. การมีส่วนร่วมการทำงานกลุ่ม
3. การแสดงออกและการแก้ปัญหากลุ่ม
4. มารยาทการเข้าสังคม
5. การแสดงความรับผิดชอบและมีลักษณะความเป็นผู้นำ
6. การช่วยเหลือผู้อื่น
จากนักวิชาการได้กล่าวถึง องค์ประกอบของทักษะทางสังคม ผู้พัฒนา Best Practice จึงขอสรุปองค์ประกอบของทักษะทางสังคม และองค์ประกอบของทักษะทางสังคม นำมาเป็นหัวข้อของรายการแบบประเมินทักษะทางสังคม ในการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ไว้ดังนี้
1. มารยาทในการเข้าสังคม
2. การเคารพต่อระเบียบวินัยของตนเองและกลุ่ม
3. การสร้างสัมพันธไมตรีกับผู้อื่น
4. การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
5. การแสดงออกและลักษณะความเป็นผู้นำ
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดทักษะทางสังคม
เครื่องมือที่ใช้วัดทักษะทางสังคม ส่วนใหญ่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับงาน Best Practice ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. แบบมาตราส่วนประมาณค่าทักษะทางสังคม (Social Rating Scale-Student Version) แคมเบลและไซเปอร์สไตน์ (Campbell ; Siperstein. 1994, หน้า 244) ได้แบ่งแบบประเมินทักษะออกเป็น 3 ระดับ
จากนักวิชาการได้กล่าวถึงแบบมาตราส่วนประมาณค่าทักษะทางสังคม ผู้พัฒนา Best Practice ได้ใช้ แบบมาตราส่วนประมาณค่าทักษะทางสังคมของ แคมเบลและไซเปอร์สไตน์ (Campbell ; Siperstein. 1994, หน้า 244) ได้แบ่งแบบประเมินทักษะออกเป็น 3 ระดับ คือ บ่อยครั้ง บางครั้ง และน้อย
3. กระบวนการพัฒนา Best Practice
ในการทำ Best Practice ครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณอนุสรณ์ สพม.42 จำนวน 2 คน
3.1 ขั้นตอนการพัฒนา Best Practice
3.1.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัย แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางสังคม ลักษณะและองค์ประกอบ จากนักการศึกษา แคมเบลและไซเปอร์สไตน์ (Campbell & Siperstein),ปัทมาวดี บุญยสวัสดิ์,พีระพงศ์ บุญศิริ,วริสรา จุ้ยดอนกลอย,ดาวประกาย แก้วนพรัตน์ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้เป็น 5 ด้าน คือ ก) มารยาทในการเข้าสังคม ข) การเคารพต่อระเบียบวินัยของตนเองและกลุ่ม ค) การสร้างสัมพันธไมตรีกับผู้อื่น ง) การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม จ) การแสดงออกและลักษณะความเป็นผู้นำ
3.1.2 แผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) ในรูปแบบกิจกรรมนันทนาการ
3.1.3 กำหนดรูปแบบและสร้างแบบประเมินทักษะทางสังคม โดยใช้มาตราส่วน แคมเบลและไซเปอร์สไตน์ (Campbell & Siperstein) เป็นแบบมาตราส่วนแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
3 คะแนน หมายถึง นักเรียนกระทำพฤติกรรมบ่อยครั้ง
2 คะแนน หมายถึง นักเรียนกระทำพฤติกรรมบางครั้ง
1 คะแนน หมายถึง นักเรียนกระทำพฤติกรรมน้อยครั้ง
3.1.4 นำแบบประเมินทักษะทางสังคม ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และนำมาปรับปรุง
3.1.5 จัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
3.1.6 ประเมินผลการใช้กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม
3.2 การตรวจสอบคุณภาพ (ระบุวิธีการและผลการตรวจสอบคุณภาพที่ได้)
หลังจากนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการจนครบ ครูผู้สอนทำการประเมินความสามารถทักษะทางสังคมของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มาหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ
ตาราง การเปรียบเทียบคะแนนทักษะทางสังคมของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้กิจกรรม จำนวน 5 ข้อ
รายการ
คนที่
เวลาที่ประเมิน มารยาทในการเข้าสังคม การเคารพต่อระเบียบวินัยของตนเองและกลุ่ม การรู้จักสร้างสัมพันธไมตรีกับผู้อื่น การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม การแสดงออกและลักษณะความเป็นผู้นำ ค่าเฉลี่ยรวม ค่าร้อยละ ระดับคะแนนคุณภาพ
คนที่ 1 ก่อน
หลัง 42
62 43
61 45
63 33
61 32
62 0.52
0.82 52
82.4 พอใช้
ดีมาก
คนที่ 2 ก่อน
หลัง 41
58 46
60 40
58 37
60 37
55 0.54
0.78 53.6
77.6 พอใช้ดี
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง พบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 คน มีระดับคะแนน ในการพัฒนาทักษะทางสังคมสูงขึ้น โดยผู้พัฒนา Best Practice ได้ประเมินทักษะทางสังคม จำนวน 5 ข้อ กับนักเรียนคนที่ 1 ก่อนนำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) ในรูปแบบของกิจกรรมนันทนาการ มาช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม พบว่า ค่าเฉลี่ยของนักเรียนคนที่ 1 ร้อยละ 52 ระดับคะแนนคุณภาพ พอใช้ หลังจากนำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) ในรูปแบบของกิจกรรมนันทนาการ มาช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม การประเมินทักษะทางสังคม พบว่า ค่าเฉลี่ยสูง เป็นร้อยละ 82.4 อยู่ในระดับคะแนนคุณภาพ ดีมาก และนักเรียนคนที่ 2 ผู้พัฒนา Best Practice ได้ประเมินทักษะทางสังคม จำนวน 5 ข้อ ก่อนนำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) ในรูปแบบของกิจกรรมนันทนาการ มาช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม ผู้พัฒนา Best Practice พบว่า ค่าเฉลี่ยของนักเรียนคนที่ 2 ร้อยละ 53.6 ระดับคะแนนคุณภาพ พอใช้ หลังจากนำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) ในรูปแบบของกิจกรรมนันทนาการ มาช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม การประเมินทักษะทางสังคม พบว่า ค่าเฉลี่ยสูง เป็นร้อยละ 77.6 อยู่ในระดับคะแนนคุณภาพ ดี
4. ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา Best Practice (เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของ Best Practice)
4.1 ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เกิดทักษะทางสังคม สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ โดยผู้พัฒนา Best Practice ได้แบ่งหัวข้อทักษะทางสังคมที่เกิดขึ้นกับนักเรียนหลังจากใช้กิจกรรมนันทนาการ ไว้ดังนี้
1) นักเรียนมีมารยาทในการเข้าสังคมมากขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 80
2) นักเรียนมีการเคารพต่อระเบียบวินัยของตนเองและกลุ่มมากขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 80.67
3) นักเรียนมีการสร้างสัมพันธไมตรีกับผู้อื่นมากขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 80.67
4) นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มมากขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 80.67
5) การแสดงออกและลักษณะความเป็นผู้นำมากขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 78
4.2. ผลที่เกิดขึ้นกับครู
1) ครูมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพทักษะทางสังคมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
2) ครูได้พัฒนาความรู้ และทักษะการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
1) ทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับและศรัทธา ต่อผู้ปกครองและชุมชน
4.4 ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนา Best Practice/ประสบการณ์เรียนรู้จากการนำ Best Practice ไปใช้
1) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
2) ผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี
3) ผู้ปกครองให้การสนับสนุนในการแสวงหาความรู้ของนักเรียน
4) โรงเรียนมีนโยบายที่ชัดเจนในการจัดการศึกษาของนักเรียนพิการเรียนรวม มีความพร้อมในด้านอาคารสถานที่ และสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน