บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา
พื้นฐาน ประวัติศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านอาแวะ อำเภอจอมพระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 84.37/81.84
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6046 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.46
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบ
การเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด