การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ตามแนว
ทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสอบถาม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้าง
ความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.60 /85.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2) ผลการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเท่ากับ( =34.22,S.D.= 1.04) สูงกว่าก่อนเรียนที่มีค่าเท่ากับ ( =21.36, S.D.= 1.19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4) ผลการศึกษาความคิดเห็นนักเรียนมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี
การสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = 0.16) ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัย