ชื่อเรื่อง ผลการใช้สื่อประสม (Multimedia) เรื่อง ระบบแห่งชีวิต รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเชื่อมโยง
ความรู้ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา นางสาวพัทธนันท์ จันปุ่ม
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
ผลการใช้สื่อประสม (Multimedia) เรื่อง ระบบแห่งชีวิต รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเชื่อมโยงความรู้ที่มีต่อการ คิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อประสมที่ใช้ในการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเชื่อมโยงความรู้ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของสื่อประสมที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเชื่อมโยงความรู้ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนและก่อนเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้สื่อประสมที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเชื่อมโยงความรู้ที่มีต่อการ คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้สื่อประสมที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค การเชื่อมโยงความรู้ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 6 คน โรงเรียนบ้านนาสีนวน ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ได้มาโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) สื่อประสม เรื่องระบบแห่งชีวิต 2) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
ผลการศึกษา พบว่า
1. สื่อประสมที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเชื่อมโยงความรู้ที่มีต่อการ คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ มีค่าประสิทธิภาพกระบวนการ/ประสิทธิภาพผลลัพธ์ เท่ากับ 89.43/87.50
2. สื่อประสมที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเชื่อมโยงความรู้ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8113 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. คะแนนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังจากเรียนโดยใช้สื่อประสมที่ใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเชื่อมโยงความรู้ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้สื่อประสมที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเชื่อมโยงความรู้ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาโดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก