ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ผักกาดหอม กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนบ้านผาเสริฐ
ชื่อผู้ศึกษา รติรัตน์ พุทธรักษา
สังกัด โรงเรียนบ้านผาเสริฐ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
ระยะเวลาที่ศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
______________________________________________________________________________
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ผักกาดหอม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านผาเสริฐ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ผักกาดหอม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านผาเสริฐ ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านผาเสริฐ ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ผักกาดหอม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านผาเสริฐ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ผักกาดหอม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ผักกาดหอม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน และแบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ นำข้อมูลวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย () หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และหาค่าร้อยละ(%)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ผักกาดหอม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 เล่ม พบว่า โดยรวมมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.51/85.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80/80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับก่อนเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ผักกาดหอม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ของนักเรียน พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนคะแนนเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.50 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้นเท่ากับ 41.67
3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อเอกสารประกอบ การเรียน เรื่อง ผักกาดหอม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับที่พึงพอใจมากที่สุด ( = 4.84,=0.41)