บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method) โดยมีความมุ่งหมาย คือ (1) เพื่อการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method) (2)
เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method) เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบึงมะลูวิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method) จำนวน 12 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)
เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ (3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method) เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. กิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method) ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง งานและพลังงาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.14/78.10
2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน
(Committee Work Method) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง งานและพลังงาน อยู่ในระดับมาก
โดยสรุป กิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method) ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง งานและพลังงาน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงพอที่ครูผู้สอนสามารถนำไปในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียน พร้อมทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนาในเนื้อหาและรายวิชาอื่นต่อไป