บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมสุขศึกษา เรื่องสุขภาพดีสร้างได้ในตลาดเก่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมสุขศึกษา เรื่องสุขภาพดีสร้างได้ในตลาดเก่า 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อ ชุดกิจกรรมสุขศึกษา เรื่องสุขภาพดีสร้างได้ในตลาดเก่า
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครยะลา จำนวน 34 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) เพื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้
ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. และค่าแจกแจง t-test
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมสุขศึกษา มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพ E1 เท่ากับ 80.96 และค่าประสิทธิภาพ E2 เท่ากับ 80.00 ดังนั้น จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมสุขศึกษา มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยที่การประเมินผลก่อนและหลังเรียนที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมสุขศึกษา เรื่อง สุขภาพดีสร้างได้ในตลาดเก่า พบว่า นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยที่การประเมินผลก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย 5.91 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.52) ขณะที่การประเมินหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย 16.00 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.23) แสดงว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมสุขศึกษา เรื่อง สุขภาพดีสร้างได้ในตลาดเก่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมสุขศึกษา เรื่อง สุขภาพดีสร้างในตลาดเก่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.41 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.26 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินการเรียนรู้ตลอดเวลา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.62 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 อยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความสนุกสนาน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.59 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 อยู่ในระดับมาก และด้านสร้างความสนใจให้ผู้เรียน เกิดอยากเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.50 ตามลำดับ