ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวจารุวรรณ แก้วจันทา
สถานศึกษา โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่จัดพิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t test
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 มีประสิทธิภาพ (E1/E2 ) เท่ากับ 81.78/85.20 สูงกว่าที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6904 หรือ ร้อยละ 69.04 หมายความว่า คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น เท่ากับ 0.6904 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.04
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ที่มีต่อ การจัดการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านที่ 2 รูปเล่มแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 4.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.30 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านที่ 5 การวัดผลประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 4.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะ เป็นวิธีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นการใช้สื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย เน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียน เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การฝึกทักษะ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดคำนวณ และการร่วมกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม จึงสมควรส่งเสริมให้ครูใช้แบบฝึกทักษะเป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ต่อไป