ชื่องานวิจัย การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาล
เทศบาลตำบลย่านดินแดง สังกัดเทศบาลตำบลย่านดินแดง อำเภอพระแสง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อผู้วิจัย นางลักษมี ชุมภูธร
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาล
เทศบาลตำบลย่านดินแดง สังกัดเทศบาลตำบลย่านดินแดง อำเภอพระแสง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง สังกัดเทศบาลตำบลย่านดินแดง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพผลการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจผลการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดงอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน พนักงานครู 11 คน ผู้ปกครองนักเรียน 256 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 277 คน การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ดำเนินการจัดประชุมกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินการพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาที่มาจากบุคคล ภายนอก 5 คน ผู้ปกครองเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 - 3 สายชั้นละ 3 คน รวม 18 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้มีส่วนเกี่ยวของ 5 คน รวมทั้งสิ้น 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมี 2 ฉบับ โดยแบบประเมินประสิทธิภาพผลการดำเนินงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง สังกัดเทศบาลตำบลย่านดินแดง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ระดับ 0.9591 และ แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษา โดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ระดับ 0.9228 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (μ)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง สังกัดเทศบาลตำบลย่านดินแดงอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการศึกษาประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง สังกัดเทศบาลตำบลย่านดินแดงอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมโดยรวมและรายแผนงานอยู่ในระดับมากแผนงานที่ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือแผนงานความสัมพันธ์ชุมชน รองลงมาคือ แผนงานบุคลากร แผนงานวิชาการ แผนงานอาคารสถานที่ แผนงานกิจการนักเรียน และที่มีประสิทธิภาพน้อยสุดคือ แผนงานธุรการ การเงิน พัสดุ
2. ความพึงพอใจของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง สังกัดเทศบาลตำบลย่านดินแดงอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าความพึงพอใจของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมโดยรวมและรายแผนงานอยู่ในระดับมากแผนงานที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ แผนงานบุคลากร และรองลงมาคือ แผนงานความสัมพันธ์ชุมชน แผนงานธุรการ การเงิน พัสดุ แผนงานอาคารสถานที่ แผนงานกิจการนักเรียน และความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ แผนงานวิชาการ
3. ผลการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากการศึกษาแนวการดำเนินงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง สังกัดเทศบาลตำบลย่านดินแดง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานีสรุปได้ว่าปัญหาที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง สังกัดเทศบาลตำบลย่านดินแดงอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการ สนทนากลุ่มของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดกิจกรรมขาดความต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ผู้ปกครองและชุมชนไม่มีส่วนร่วมเท่าที่ควร ที่ตั้งขอโรงเรียนอยู่ในแหล่งมลพิษทางเสียง งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านการดูแล งานสารสนเทศขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ
4. แนวทางแก้ปัญหาด้านการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลย่านดินแดง สังกัดเทศบาลตำบลย่านดินแดงอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ ใช้ผลจากการประเมินมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการจัดกิจกรรม การปรับปรุงการจัดกิจกรรมต้องดำเนินการทั้งระหว่างการจัดกิจกรรมและสิ้นสุดการจัดกิจกรรม ดำเนินการแก้ไขจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่น และนำแนวทางใหม่ๆ มาพัฒนาและปรับปรุงการจัดกิจกรรมร่วมกับแนวทางที่ดำเนินการประเมินผลและปรับปรุงแผนงาน ได้แก่ จัดให้มีคณะกรรมการฝ่ายการประเมินผล นิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินการของแผนงานหลัก 6 งานได้แก่ แผนงานวิชาการ แผนงานบุคลากรแผนงานธุรการ การเงิน พัสดุแผนงานอาคารสถานที่ แผนงานกิจการนักเรียนแผนงานความสัมพันธ์ชุมชน มีการนำผลการนิเทศ กำกับติดตาม มาประเมินผลถึงข้อบกพร่อง ข้อดี หรือข้อที่ต้องการแก้ไข ให้ได้รับการแก้ไข และมีการดำเนินงานทุกแผนงานให้เป็นปัจจุบันมีการรายงานผลอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง