ชื่อผลงาน รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง พหุนาม วิชาคณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน นายพันประสิทธิ์ บางศิริ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม อำเภอราษีไศล
จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
บทคัดย่อ
สาระคณิตศาสตร์มีความสำคัญสำหรับนักเรียน การฝึกให้นักเรียนมีทักษะทางคณิตศาสตร์ให้มากขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้น ผู้รายงานจึงได้ทำการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง พหุนาม วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง พหุนาม วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75 / 75 (2) เพื่อหาประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง พหุนาม วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง พหุนาม และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง พหุนาม โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 แผน (2) แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง พหุนาม วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 เล่ม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยากง่ายของตัวถูกตั้งแต่ 0.36 0.79 ค่าอำนาจจำแนกของตัวถูกตั้งแต่ 0.25 0.60 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง พหุนาม วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ (1)สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(2)สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ หาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Validity) ของแบบทดสอบ โดยใช้วิธีหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) หาค่าความยากของข้อสอบ
แต่ละข้อในแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สูตรของบุญชม ศรีสะอาด หาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ โดยใช้วิธีของเบรนแนน (Brennan) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้สูตรของ โลเวทท์ (Lovett) หาความเชื่อมั่นของแบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง พหุนาม โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ( - coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) (3) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t test (Dependent Samples) (4)หาประสิทธิภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ
ตามเกณฑ์ 75 / 75 โดยใช้สูตร วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะ (E.I.) โดยวิธีการของกูดแมน เฟรทเชอร์ และชไนเดอร์
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง พหุนาม วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.49 / 80.26
2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง พหุนาม วิชาคณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.6681
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนเรื่อง พหุนาม โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้ด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะโดยรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 แสดงว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด
สรุปได้ว่า การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง พหุนาม วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้ทำให้ได้แบบฝึกเสริมทักษะที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ครูสามารถนำไปเป็นสื่อเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี