ชื่องานวิจัย การใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านปูยุด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ชื่อผู้วิจัย นางเพ็ญชาติ ก้อนจินดา
สถานศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านปูยุด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนชุมชนบ้านปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 9 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ จำนวน 20 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 10 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านปูยุด มีประสิทธิภาพ 91.95/92.40 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 จึงสรุปว่า แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและการเขียนคำควบโดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 15.12 คิดเป็นร้อยละ 50.04 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 27.04 คิดเป็นร้อยละ 90.13 สรุปได้ว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 กลุ่มสาระภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 อยู่ในระดับมากที่สุด