บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานบริหารงานวิชาการภายในโรงเรียนบ้านท่าอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 (2) ศึกษาแนวทางและวิธีการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 16 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน
ครูโรงเรียน จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน รวมจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวทางการปฏิบัติงานบริหารงานวิชาการภายในโรงเรียนบ้านท่าอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการนิเทศภายในโรงเรียน และด้านการวัดผลและประเมินผล
2. แนวทางและวิธีการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ควรดำเนินการดังนี้
2.1 ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร
2.1.1 แนวทางในการศึกษาและการวิเคราะห์หลักสูตร เพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งผลต่องานด้านวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียนมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน คือ ควรมีการเตรียมความพร้อม โดยจัดประชุมชี้แจงแก่คณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อสร้างความตระหนัก กำหนดแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรท้องถิ่นร่วมกัน เพื่อให้มีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องทั้งตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ และจัดทำตารางการวิเคราะห์หลักสูตร เพื่อกำหนดกรอบในการกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อวางแผนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้ตรงกับสภาพจริง โดยให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
2.1.2 แนวทางในการนำหลักสูตรสถานศึกษามาใช้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทาง
การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียน มี ความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน คือ ควรมีการวางแผนและเตรียมการในการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ โดจัดตั้งคณะทำงานในการประสานงานติดตาม ประเมินผลการใช้หลักสูตร ควรสร้างความตระหนักให้ครูผู้สอนในการศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหา ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัดของหลักสูตร ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อนักเรียนในการเกิดการเรียนรู้ตรงตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ให้ครูผู้สอนนำหลักสูตรสถานศึกษามาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ นวัตกรรมแบบทดสอบวัดผล ประเมินผล เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลิตสื่อที่หลากหลาย โดยแสวงหาความรู้ให้ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด และควรประเมินผลการใช้หลักสูตรและรายงานผลการใช้หลักสูตร
2.1.3 แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยอาศัยการบริหารหลักสูตร 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ และขั้นการประเมินผลการใช้หลักสูตร จากความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียน มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน คือ
- ขั้นเตรียมการ ควรศึกษาข้อมูลจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษาว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่และมีประเด็นใดบ้างที่ต้องปรับลดหรือเพิ่มเติมลงไป จัดประชุมคณะครู และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย วางแผนการพัฒนาหลักสูตรโดยนำข้อมูล ปัญหา ที่เกิดขึ้น ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และแนวข้อสอบ O-NET เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดโครงสร้าง กิจกรรมที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาให้นักเรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
- ขั้นดำเนินงาน คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง ประชุมวางแผนการทำหลักสูตรไปใช้
โดยจัดบรรยากาศการเรียนรู้ จัดทำ เลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับหลักสูตรจัดกระบวนการเรียนรู้ที่นักเรียน
สามารถปฏิบัติได้จริง มีการวัดผล ประเมินผลเป็นระยะก่อนเรียนหลังเรียน จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับ
หลักสูตร
- ขั้นประเมินการใช้หลักสูตร ควรมีการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดย
ประเมินผลสรุปรวมการประเมินผลการเรียนรู้เปรียบเทียบผลที่ได้เกิดขึ้นกับผลที่คาดหวังและมี การตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนเทียบกับเกณฑ์ มีการประเมินอย่างต่อเนื่อง สรุปผลการใช้หลักสูตรเมื่อสิ้นปีการศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจัดเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในแต่ละสาระการเรียนรู้ มาวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียน และจัดทำข้อมูลสารสนเทศ นำผลการวิเคราะห์ที่ได้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาต่อไปและเป็นข้อมูลในการพิจารณาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพและมีความเหมาะสมกับสถานศึกษามากยิ่งขึ้น
2.2 ด้านการจัดการเรียนการสอน
2.2.1 แนวทางในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียน มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน คือ แต่งตั้งคณะครูรับผิดชอบ มีการประชุมคณะครูเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ครูศึกษามาตรฐาน ตัวชี้วัดของหลักสูตร และสร้างเครื่องมือพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร่วมกันวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นทักษะการคิด วิเคราะห์ ใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย ใช้สื่อ เทคโนโลยีนวัตกรรมที่เหมาะสม มีการวัดผล ประเมินผลตามสภาพาจริง มีการประเมินผลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ นำผลการประเมินที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
2.2.2 แนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียน มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน คือ ควรจัดครูผู้สอนให้ตรงกับวิชาเอกที่สอนหรือความถนัด ให้ครูศึกษา วิเคราะห์ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ของหลักสูตรอย่างละเอียด ทำความเข้าใจ เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบที่ถูกต้อง มีการวัด ประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่องโดยยึดมาตรฐาน ตัวชี้วัดเป็นหลัก ให้ครูวางแผนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นให้ครูหาเทคนิควิธีการสอนใหม่ๆ ใช้สื่อเทคโนโลยี วิธีการสอนที่หลากหลายที่สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิด วิเคราะห์ ได้ด้วยตนเอง มีการบันทึกผลหลังการสอน นำผลการประเมินและบันทึกหลังสอนมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาและช่วยเหลือแก้ไขให้แก่ผู้เรียน
2.3 ด้านการนิเทศภายในโรงเรียน
2.3.1 แนวทางในการจัดกระบวนการนิเทศภายใน การติดตาม และการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียน มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน คือ จัดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำการนิเทศ และทำความเข้าใจ ชี้แจงความจำเป็นในการนิเทศภายในให้แก่ครูผู้สอน ให้คณะกรรมการทำการนิเทศภายในสถานศึกษา อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เยี่ยมชั้นเรียน สังเกตการณ์สอนของครู พฤติกรรมนักเรียนและผลการเรียน รายงานผลการนิเทศ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพของครูอย่างสม่ำเสมอ
2.3.2 แนวทางในการวางแผน แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการทำงานของครูให้มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียน มี ความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน คือนำผลการนิเทศมาประชุมเพื่อวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน ศึกษาสภาพและปัญหาที่พบในชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์และพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประเมินความต้องการพัฒนาของบุคลากรและวางแผนการพัฒนาให้เป็นรูปธรรมทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว มีการติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง สร้างขวัญและกำลังใจในการพิจารณาความดี ความชอบให้กับครูที่มีผลงานดีเด่น โดยยึดหลักความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้ครูได้มีการพัฒนาตนเอง จัดอบรมครูเกี่ยวกับสื่อเทคโนโลยี จัดให้มีการอบรม สัมมนา แลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างครูผู้สอน ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน และศึกษาดูงานในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบ O-NET สูง เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนและการทำงานของครูให้มีประสิทธิภาพ
2.4 ด้านการวัดผลและประเมิน
2.4.1 แนวทางในการดำเนินการประเมินผลการเรียนการสอน ที่เน้นพัฒนาการเรียนรู้ ของนักเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จาก ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียน มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน คือ ควรมี การประเมินผลก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานเดิมของผู้เรียน และนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน อีกทั้งการประเมินผล ระหว่างเรียน เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนว่ามีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดหรือไม่ รวมถึงการประเมินผลหลังเรียน เพื่อตรวจสอบความสำเร็จของผู้เรียนตามมาตรฐานตัวชี้วัด และนำผลการประเมินมาเป็นข้อมูลในการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน การประเมินควรประเมินตามมาตรฐานการศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ฝึกให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็นและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งควรตรวจสอบเครื่องมือในการวัดทุกปี มีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับท้องถิ่นและสภาพปัจจุบัน
2.4.2 แนวทางในการติดตามการประเมินผลการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาการเรียนรู้ของ
นักเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียน มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน คือ ผู้บริหาร ร่วมกับครูตรวจสอบเอกสารการวัดผล ประเมินผล เพื่อดูความสอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัดของหลักสูตร และรายงานผลการประเมินครูของผู้สอนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำผลการประเมินในสาระการเรียนรู้ต่างๆ มาวิเคราะห์หาสาเหตุในกรณีที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ และหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุง ต่อไป ให้ครูวิเคราะห์ผล การเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาข้อบกพร่อง และหาแนวทางแก้ไข ให้ความช่วยเหลือนักเรียนอย่างตรงจุดรายงานผลให้ผู้บริหาร ครูใน และผู้ปกครองทราบ โดยจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อรายงานผลการประเมินการเรียนการสอนของครู นำผลการประเมินมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ พิจารณาจากผลคะแนนที่ได้ เพื่อหาปัญหา ข้อบกพร่อง ปรับปรุงพัฒนาหาแนวทางแก้ไขต่อไป