บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำที่มีอักษรนำและคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะ เรื่อง คำที่มีอักษรนำและคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำที่มีอักษรนำและคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ประชาการที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในกลุ่ม CEO เมืองพระธาตุเรืองรอง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ได้แก่ โรงเรียนบ้านโนนแย้ จำนวน 17 คน โรงเรียนบ้านเอกสร้างเรือง จำนวน 10 คน และโรงเรียนบ้านน้ำคำ จำนวน 27 คน รวมทั้งสิ้น 54 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนแย้ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 รวม 17 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำที่มีอักษรนำและคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 7 แผน ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 2) ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำที่มีอักษรนำและคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 7 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำที่มีอักษรนำและคำควบกล้ำ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ .38 ถึง .76 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .41 ถึง .76 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .94 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำที่มีอักษรนำและคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และการทดสอบค่า t (Dependent Sample)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำที่มีอักษรนำและคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.13/83.86 ดังนั้นชุดฝึกทักษะนี้จึงมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำที่มีอักษรนำและคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำที่มีอักษรนำและคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก