บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6 อ. และ 2 ส.
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 2558
ผู้รายงาน นายวชิระ ขวัญเพชร ผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2557 -2558
การประเมินโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 6 อ. และ 2 ส. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 2558 ประยุกต์ใช้การประเมิน รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ประกอบด้วย คุณภาพการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพตามกลยุทธ์ 6 อ. และ 2 ส.การพัฒนาสภาวะสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทางทันตกรรม สถิติการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ พฤติกรรมด้านสุขภาพของครูในการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีและเป็นแบบอย่างได้ คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ และประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6 อ. และ 2 ส. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 2558 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย 1) นักเรียน ปีการศึกษา 2557 ใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 5 ทุกคน และระดับชั้นมัธยมศึกษา ใช้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2, 4, 5 ทุกคน จำนวน 347 คน และปีการศึกษา 2558 ใช้นักเรียนกลุ่มเดิมที่เลื่อนชั้นไปเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 ทุกคน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2,3,5, 6 ทุกคน จำนวน 327 คน 2) ครู ปีการศึกษา 2557 จำนวน 47 คน และปีการศึกษา 2558 จำนวน 50 คน 3) ผู้ปกครองปีการศึกษา 2557 จำนวน 347 คน และปีการศึกษา 2558 จำนวน 327 คน และ4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 จำนวน 13 คน เครื่องมือการประเมินที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งสิ้น จำนวน 8 ฉบับ มี 2 ลักษณะ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกข้อมูล จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 6 อ. และ 2 ส. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 2558 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งมีรายละเอียดแต่ละด้าน ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมิน 4 ตัวชี้วัด คือ ความต้องการและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ ปีการศึกษา 2557 มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับปานกลางได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2558 มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการตามความคิดเห็นของครู โดยประเมิน5 ตัวชี้วัด คือ ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ปีการศึกษา 2557 มีค่าเฉลี่ย โดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2558 มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ตัวชี้วัด คือ การวางแผน การดำเนินการจัดกิจกรรม การติดตามและประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา ปีการศึกษา 2557 มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 20 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินปีการศึกษา 2558 มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด ได้คะแนน 20 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6 อ. และ 2 ส. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 2558 ได้คะแนน 60 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำแนกผลการประเมิน ดังนี้
4.1 ด้านคุณภาพของการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6อ.และ 2 ส. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมากได้คะแนน 15 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2558 มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด ได้คะแนน 15 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ด้านสภาวะสุขภาพของนักเรียน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทางทันตกรรม และสถิติการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลาโดยใช้กลยุทธ์ 6อ. และ 2 ส. ปีการศึกษา 2557 ค่าร้อยละเฉลี่ยภาวะสุขภาพนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 93.00 มีคุณภาพอยู่ที่ระดับดีมาก ได้คะแนน 15 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2558 ร้อยละ 89.00 มีคุณภาพอยู่ที่ระดับดีมากได้คะแนน 15 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ด้านพฤติกรรมด้านสุขภาพของครูในการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และเป็นแบบอย่างได้ ที่มีต่อผลการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6 อ. และ 2 ส. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และครู มีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2558 ภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับมากที่สุด ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ด้านคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีสภาวะสุขภาพที่ดีและมีสุนทรียภาพ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 มีค่าคะแนนอยู่ที่ระดับ 5.00 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2558 มีค่าคะแนนอยู่ ที่ระดับ 5.00 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ด้านความพึงพอใจในการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์6 อ. และ 2 ส. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6 อ. และ 2 ส.โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 - 2558 โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ค่าน้ำหนัก 100 ค่าคะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผลการประเมินด้านบริบท ค่าน้ำหนัก 10 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินด้านปัจจัยนำ เข้าค่าน้ำหนัก 10 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินด้านกระบวนการ ค่าน้ำหนัก 20 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินด้านผลผลิต ค่าน้ำหนักรวม 60 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 60 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินครอบคลุม 4 ด้าน ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลการประเมินความพึงพอใจในการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพ
6. ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6 อ. และ 2 ส. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 2558 พบว่าปีการศึกษา 2557 ข้อเสนอแนะและปัญหาที่ได้รับการเสนอมากที่สุด คือ ควรมีการเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ควรมียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้นและได้รับการส่งต่อเมื่อเจ็บป่วยเกินขอบเขตการบริการของเจ้าหน้าที่พยาบาล ความถี่น้อยที่สุดคือ ควรปรับปรุงอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการฯ ปีการศึกษา 2558 ข้อเสนอแนะและปัญหา ที่ได้รับการเสนอมากที่สุดคือ ควรจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาครู ระหว่างครูประจำกลุ่มสี กลุ่มสาระ ฝ่าย/งาน ระหว่างโรงเรียนบ้าง ควรมียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในการดูแลรักษา พยาบาลเบื้องต้น และได้รับการส่งต่อเมื่อเจ็บป่วยเกินขอบเขตการบริการของเจ้าหน้าที่พยาบาล และควรแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรนำผลการประเมินโครงการวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย รวมทั้งความสำเร็จและอุปสรรค เพื่อปรับปรุงพัฒนา กลยุทธ์ 6 อ. และ 2 ส. ที่กำลังดำเนินการอยู่ให้เกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียน
1.2 ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้เกี่ยวข้องควรนำกลยุทธ์ 6 อ. และ 2 ส. ประยุกต์ใช้โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทหรือสภาพแวดล้อมแต่ละโรงเรียน เพื่อศึกษาผลกระทบในการพัฒนาโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
1.3 ควรนำผลการประเมินไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาสุขภาพนักเรียนให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาฝ่ายต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาต่อไป
1.4 ครูที่ปรึกษาควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนและผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องมีเวลาพบปะพูดคุยกับนักเรียน เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อ สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินในครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน โดยใช้รูปแบบการประเมินในรูปแบบอื่นเพื่อติดตามผลในการดำเนินโครงการ
2.2 ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาวะสุขภาพนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์๔๓ จังหวัดสงขลา และโรงเรียนในสังกัดอื่น
2.3 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพที่ดีกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๓ จังหวัดสงขลา และโรงเรียนในสังกัดอื่น