กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ผู้ศึกษา นางชุติมา หัสถาดล
โรงเรียน โรงเรียนบ้านท่าสะตือ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อจัดทำและพัฒนาแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุด โจทย์ปัญหากับบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80 / 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย
แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุด โจทย์ปัญหากับบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุด โจทย์ปัญหากับบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าสะตือ ตำบลแก่งดินสอ
อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 19 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุด โจทย์ปัญหากับบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุด โจทย์ปัญหากับบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่ผู้รายงานพัฒนาขึ้นจำนวน 1 ฉบับ แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t test (dependent Samples) ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุด โจทย์ปัญหากับบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.51 /87.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุด โจทย์ปัญหากับบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุด โจทย์ปัญหากับบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( x̄ = 4.63, S.D = 0.48)