ชื่อเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนวิชา
พระพุทธศาสนา เรื่อง อริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้
แบบโยนิโสมนสิการกับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา
ผู้วิจัย นางอัญชลี ราชเสนา
ปีที่วิจัย 2556
การเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเรียนรู้ยังไม่มีความหลากหลาย และน่าสนใจ อีกทั้งยัง ไม่สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล และเห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการกับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เป็นแนวทางหนึ่งที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความสนใจที่หลากหลายของผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการกับแผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง อริยสัจ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ กับแผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา วิชา พระพุทธศาสนา เรื่อง อริยสัจ 4 และ (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการกับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 และ 5/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จากห้องเรียน 2 ห้อง จำนวน 80 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) การวิเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) การออกแบบและการพัฒนา (Design and Development: D&D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) การนำไปใช้ (Implementation: I) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) การประเมินผล (Evaluation: E) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ กับแผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา จำนวนรูปแบบละ 9 แผน ๆ ละ 2 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.23 - 0.95 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ( rCC ) เท่ากับ 0.82 (3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.26 – 0.68 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.25 – 0.73 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.87 และ (4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา เป็นแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (t-test) ตั้งแต่ 2.71 – 7.26 มีค่าความเชื่อมั่น( ) เท่ากับ 0.91การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test Independent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการกับแผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง อริยสัจ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.75/80.69 และ 86.06/84.44 ตามลำดับ
2. แผนการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ กับแผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง อริยสัจ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6544 และ 0.7186 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 65.44 และ 71.86 ตามลำดับ
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา หลังเรียน แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05