ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบ Coachingเพื่อพัฒนาสมรรถนะ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน
ปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย นางสาวนุสรณ์จิต ธรรมศิริ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองบัว สังกัดกองการศึกษา
เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการนิเทศภายในแบบ Coaching เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครู ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบ Coaching เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครู ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบ Coaching เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย 4. เพื่อประเมินประสิทธิผล และปรับปรุงรูปแบบการนิเทศภายในแบบ Coaching เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัยดำเนินการโดยการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบCoaching (3PCE Coaching Model) ซึ่งประกอบด้วย 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะการมีส่วนร่วม (Participation) ระยะที่ 2 ระยะการเตรียมการ (Preparing phase)ระยะที่ 3 ระยะการวางแผน (Planning phase)ระยะที่ 4 ระยะการปฏิบัติการโค้ช (Coaching phase)
และ ระยะที่ 5 ระยะการประเมินผลการโค้ช(Evaluating phase)ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัย จำนวน 11 ฉบับ คือ แบบทดสอบ จำนวน 3 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 2 ฉบับ แบบประเมิน จำนวน 4 ฉบับ แบบสนทนากลุ่ม จำนวน 1 ฉบับ และแบบสังเกต จำนวน 1 ฉบับ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นปฐมวัย นักเรียนระดับชั้นปฐมวัย และ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นปฐมวัยรวม 90 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test
ผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบ Coachingเพื่อพัฒนาสมรรถนะ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการนิเทศภายในแบบ
Coachingเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครู ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัยปรากฏผล ดังนี้
1.1 ทักษะการคิดของนักเรียนระดับปฐมวัยต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดหวัง
1.2 สมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูในระดับต่ำกว่าที่คาดหวัง
และครูมีความต้องการนิเทศภายในแบบ Coaching เพื่อนำความรู้ความสามารถไปพัฒนาตนเอง และพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่นักเรียนปฐมวัย
2. ผลพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบ Coaching เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย จากการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในแบบ Coaching พบว่าค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าระหว่าง 0.80 1.00 แสดงว่ารูปแบบมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ได้จริง
3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบ Coaching เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัยปรากฏผลดังนี้
3.1.สมรรถนะการโค้ชของครูก่อน และหลังการใช้รูปแบบ พบว่า
3.1.1 ครูมีความรู้เรื่องโค้ชก่อน และหลังการใช้รูปแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.1.2 ครูมีความสามารถในการโค้ช (จากการประเมินตนเอง) ก่อน และหลังการใช้รูปแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.2 สมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของงนักเรียนพบว่า
3.2.1 ครูมีความรู้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิด (การประเมินตนเอง) ก่อน และหลังการใช้รูปแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.2.2 ครูมีความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิด (การประเมินตนเอง) ก่อน และหลังการใช้รูปแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.2.3 ผลจากการสังเกต และบันทึกพฤติกรรมการปฏิบัติการโค้ชและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครู พบว่า ครูมีการพัฒนาด้านความรู้ และความสามารถในการโค้ชสูงขึ้น
3.3 ทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัยก่อน และหลังการใช้รูปแบบ พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.4 ผลจากการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในแบบ Coaching เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย พบว่า รูปแบบการนิเทศภายใน แบบCoaching เป็นรูปแบบที่เหมาะสม เพราะจะช่วยให้ครูความมั่นใจในการจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียน มีกำลังใจ และมีพลังที่จะปฏิบัติงาน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
4. ผลการประเมินประสิทธิผล และการปรับปรุงพัฒนารูปแบบ ปรากฏผล ดังนี้
4.1 ความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบการนิเทศภายในแบบ Coaching เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัยพบว่า ในภาพรวมครูมีความพึงพอใจ ในระดับมาก
4.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ ในระดับมาก