บทคัดย่อ
เรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะ วิชาบาสเกตบอล พ 23104
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นายกิจติพงศ์ บู้หลง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ
โรงเรียนปะทิววิทยา อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2558
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาบาสเกตบอล พ 23104 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาบาสเกตบอล พ 23104 หาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาบาสเกตบอล พ 23104 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะวิชาบาสเกตบอล พ 23104 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปะทิววิทยา อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ปีการศึกษา 2557 ที่เรียนกับผู้รายงาน จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบฝึกทักษะ วิชาบาสเกตบอล พ 33201 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะ โดยได้ดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาบาสเกตบอล พ 33201 จำนวน 14 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) การคำนวณหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ (E1/E2) การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การหาค่าความยากง่าย ( P ) การหาค่าอำนาจจำแนก ( R ) และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจทั้งฉบับ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (@ - Coefficient) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ได้แก่ร้อยละ (Percentage) การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า ที ( t - dependent) และการหาค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ วิชาบาสเกตบอล พ 33201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (E1 / E2) ที่สร้างขึ้น มีค่า = 76.71/81.86 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 70/70 ที่กำหนดไว้
2. ผลการวิเคราะห์ การเปรียบเทียบความรู้จากแบบฝึกทักษะ วิชาบาสเกตบอล พ 23104 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ กลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
3. ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกทักษะ วิชา บาสเกตบอล พ 23104 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.14
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะ วิชาบาสเกตบอล พ 23104 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะ วิชาบาสเกตบอล พ 23104 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีค่าในระดับ มากที่สุด