ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP
รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนหลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ผู้วิจัย นายธนวิทย์ อุมา
โรงเรียน วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี อาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP
รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบ
การเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP
รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับ
ชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 กลุ่มเป้าหมาย
ที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี จำนวน 9 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected) เนื่องจากระดับชั้นปวช. 1 มีนักเรียนห้องเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ที่ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาขึ้น 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.27 - 0.78 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 - 0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.83 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.55 0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ สถิติ Nonparametric แบบ Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 84.14/82.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.68 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 68
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หลังจากเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปวช. 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = 0.63)
สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค MIAP รหัสวิชา 2204-2003 วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เป็นสื่อการจัดการเรียนรู้ที่โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูนำไปพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนต่อไป