ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนามัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางยุพิน นารีหวานดี
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 6 (อนุบาลในฝัน) สำนักการศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 32 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาล 6 (อนุบาลในฝัน) สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) มัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 ชุด 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) และ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 6 แผน 18 ชั่วโมง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผลการทดสอบระหว่างเรียนมีคิดเป็นร้อยละ 80.78 และทดสอบหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 85.08 มีประสิทธิภาพ 80.78/85.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.31 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.11 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนสอบของนักเรียนหลังเรียนพบว่า คะแนนสอบของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลจากการหาดัชนีประสิทธิผลของ มัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.7255 ซึ่งหมายความว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.55 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 0.50 ขึ้นไป
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 ค่าเฉลี่ยขอค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.89 โดยที่รายการที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น ( =4.89, S.D. = 0.65) แปลความอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การออกแบบของมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีขนาดที่เหมาะสม ( =4.75, S.D. = 0.34) แปลความอยู่ในระดับมากที่สุด และรองลงมาคือ ชุดสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง คอมพิวเตอร์น่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ใช้ข้อความที่กะทัดรัดอ่านแล้วเข้าใจง่าย ( = 4.51, S.D. = 0.33) แปลความอยู่ในระดับมากที่สุด