ชื่อเรื่อง การแก้ปัญหาเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ไม่รู้จัก พยัญชนะ ก ฮ
ผู้วิจัย นางศิริรัตน์ คอยเกษม
เป็นมาและความสำคัญ
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกความเป็นเอกราชและความภาคภูมิใจของชาติไทย ภาษาไทยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการใช้ติดต่อสื่อสารกันในสังคมไทยของเรา นอกจากภาษาพูดแล้วยังรวมถึงภาษาเขียนอีกด้วย พยัญชนะไทย ตั้งแต่ ก ฮ มีทั้งหมด 44 ตัว คนไทยทุกคนจำเป็นต้องรู้จักและสามารถอ่านภาษาไทยออก ซึ่งการเริ่มรู้จักตัวอักษรควรต้องให้เด็กรู้จักเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลเพื่อให้เกิดการคุณเคยและสามารถจำและอ่านภาษาไทยออกในอนาคตเมื่อเด็กโตและเรียนชั้นที่สูงขึ้นต่อไปจากการที่ได้ทดสอบเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ได้นำพยัญชนะ 44 ตัว ให้เด็กจำนวน 27 คนในชั้นเรียน หยิบขึ้นอ่าน 15 ตัวอักษร มีเด็กที่สามารถรู้จักตัวอักษรได้ทั้ง จำนวน 4 คน เด็กที่รู้จักตัวอักษรโดยมีครูชี้แนะ จำนวน 8 คน เด็กที่ไม่รู้จักตัวอักษร จำนวน 15 คน จึงคิดแก้ปัญหาดังกล่าว
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อแก้ปัญหาเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ไม่รู้จัก พยัญชนะ ก ฮ
2. สร้างแผนจัดประสบการณ์โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อักษร ก ฮ
เพื่อพัฒนาทักษะภาษาด้านการอ่านของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2
กลุ่มเป้าหมาย
เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 27 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อักษร ก ฮ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาด้านการอ่าน
ของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2
2. แบบสังเกตพฤติกรรม ของเด็กชั้นอนุบาล 2
3. การทดสอบก่อนและหลังการใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อักษร ก ฮ เพื่อ
พัฒนาทักษะภาษาด้านการอ่านของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2
วิธีการดำเนินการศึกษา
1. กลุ่มเป้าหมาย เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 27 คน
2. ทดสอบก่อนการจัดประสบการณ์
3. สร้างแผนจัดประสบการณ์โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อักษร ก ฮ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาด้านการอ่านของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2
4. จัดประสบการณ์เรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อักษร ก ฮ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาด้านการอ่านของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 42 แผน 42 สัปดาห์ เนื่องจาก พยัญชนะ ฃ และ ฅ ไม่ได้นำมาใช้ ผู้รายงานจึงแทรก ฃ ไว้ใน แผนการจัดประสบการณ์ ข และ แทรก ฅ ไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ ค
5. สังเกตพฤติกรรม ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2
6. ทดสอบหลังการจัดประสบการณ์
7. อภิปรายผล
การวิเคราะห์ข้อมูล
เก็บรวบรวมข้อมูลนำเสนอโดยตาราง
ผลการศึกษา
หลังจากจัดประสบการณ์โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อักษร ก ฮ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาด้านการอ่านของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 42 แผน ระหว่างภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 เป็นเวลา 42 สัปดาห์ จัดประสบการณ์ตามแผน ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ สัปดาห์ละ1ชั่วโมง 40 นาที ในช่วงกิจกรรมสร้างสรรค์ ใช้เวลาวันละ 20 นาที ผลการสังเกตพฤติกรรมทางภาษา มีดังนี้ จากตารางวิเคราะห์พฤติกรรมทางภาษา นักเรียนเด็กอนุบาลปีที่ 2 จำนวนเด็กที่พฤติกรรม ในหัวข้อ รู้จักตัวอักษร ก ฮ รู้จักคำที่ออกเสียงอักษร ก ฮ รู้จักทิศทางลีลามือในการเขียนตัวอักษร ก - ฮ ระดับ ดี จำนวน 3 คน คดเป็นร้อยละ 11.11 ระดับ ดีมาก จำนวน 24 คน คิดเป็น ร้อยละ 88.8 และจากการทดสอบให้เด็ก หยิบตัวอักษร 15 ตัว จาก 44 ตัวอักษร ผลการทดสอบปรากฏว่า เด็กที่รู้จักตัวอักษรโดยมีครูชี้แนะ จำนวน 6 คน คิดเป็น ร้อยละ 22.22 เด็กที่รู้จักตัวอักษร จำนวน 21 คน คิดเป็น ร้อยละ 77.78
สรุปผลการศึกษา
เมื่อจัดประสบการณ์โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อักษร ก ฮ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาด้านการอ่านของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 แล้ว เด็กมีพัฒนาการทางภาษาในการรู้จักอักษร ก ฮ ดีขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 100
อภิปรายผล
การศึกษาครั้งนี้ ใช้จัดประสบการณ์โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อักษร ก ฮ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาด้านการอ่านของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
เด็กมีพัฒนาการทางภาษาในการรู้จักอักษร ก ฮ ดีขึ้น และเป็นไปตามจุดประสงค์การศึกษาทั้งนี้เกิดจากการจัดประสบการณ์ที่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนแบบ BBL คือการนำองค์ความรู้เรื่องสมองและธรรมชาติการทำงานของสมองมาใช้ในการจัดกระบวนการให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าว ได้แก่การจัดกิจกรรมระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การจัดสิ่งแวดล้อม และ ที่สำคัญที่สุดคือ การออกแบบและการใช้เครื่องมือ / สื่อเพื่อการเรียนรู้ต่างๆ โดยประเด็นสำคัญคือ ต้องทำให้เด็กสนใจ ใคร่รู้ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสำคัญคือ เด็กได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพสมอง เสริมแรงชมเชยเด็กที่รู้ตัวอักษรได้ได้ ทำให้เด็กเกิด พฤติกรรมอยากให้ครูชมเชยตนบ้าง ตรงตามทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement Theory ) ของสกินเนอร์ (Skinner) ซึ่งเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกิริยาสะท้อนหลังจากเกิดกระบวนการของสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งอาจเป็นการเสริมแรง แบบมีเงื่อนไข เช่น ได้รับความพอใจจากรางวัลต่างๆ หรือเป็นการเสริมแรงแบบอุปนัย คือได้รับความพอใจที่มีความหวัง หรือเป็นแรงจูงใจให้เกิดผลสัมฤทธิ์ การเสริมแรงบวกให้สิ่งเร้าที่พึงประสงค์เพื่อให้เกิดพฤติกรรมพึงประสงค์เช่นกล่าวชมเชย เมื่อรู้จักตัวอักษร
ข้อเสนอแนะ
1. ครูควรเอาใจใส่ติดตามการศึกษาของเด็กเพื่อให้คำเสนอแนะช่วยเหลือเวลามีปัญหา
2. ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูได้ผลิตสื่อเพื่อใช้ในเวลาขาดแคลนครู หรือเวลาสอนแทนกันได้สะดวกขึ้น อาจจัดในรูปงบประมาณ จัดหาวิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อมาให้ความรู้กับบุคลากรที่สนใจ
3. ควรมีการเผยแพร่ผลงานให้ขยายในวงกว้าง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาของเด็กโรงเรียนอื่นๆด้วย
4. ควรศึกษาการจัดประสบการณ์ด้านอื่นๆ เพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาทั้งด้านการฟัง พูดอ่าน เขียน เช่น การจัดกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมุติ การจัดกิจกรรมแบบโครงงาน การจัดกิจกรรมแบบโครงการ และการจัดกิจกรรมการแสดงละคร
5. ควรศึกษาการจัดประสบการณ์เล่านิทานเพื่อให้เด็กปฐมวัยรู้จักอักษร ก ฮ