คำสำคัญ : ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค/ การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย/ แบบฝึกทักษะ
เสาวณีย์ โพธิ์เต็ง : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค โดยจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ. 226 หน้า.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัด
การเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค โดยจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์)
สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบฝึกทักษะเรื่องชนิดและหน้าที่ ของคำในประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค และ 4) แบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ( x¯ )
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) และ
การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.11/80.28 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค โดยจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด