ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกือเม็ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ

ก.ค.ศ.๓ (จชต.) ส่วนที่ ๒

การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

ส่วนที่ ๒ ผลงานที่ประสบผลสำเร็จด้านการบริหารสถานศึกษา

------------------------------

การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกือเม็ง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑

๑. ความเป็นมาและแนวคิด

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นหลักการปฏิบัติของประชาชนให้ดำรงชีวิตอยู่บนทางสายกลางซึ่งในปัจจุบันนี้การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติได้ขยายวงกว้างสู่องค์กร หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ดังกำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๘๓ (๑) และได้กำหนดเป็นกลยุทธ์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) ได้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฏิบัติควบคู่กับการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา (ประภาพร สุปัญญา. ๒๕๕๐ : ๓)

กระทรวงศึกษาธิการ (ถวัลย์ มาศจรัส. ๒๕๕๐ : ๑๐) ได้กำหนดและเริ่มนโยบายการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาในทุกระดับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๙ โดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาและเยาวชน โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตลอดจนถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เป็นภาคีร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำหนดนโยบายร่วมดำเนินการโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา นำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วยหลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ประกอบด้วย พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ๒ เงื่อนไข คือเงื่อนไขความรู้ และ เงื่อนไขคุณธรรม ส่วนกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการใน ๓ ระดับ คือ (๑) ระดับชาติ (๒) ระดับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และ (๓) ระดับปฏิบัติการ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการจัดการศึกษาบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมี ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ในห้องเรียน และส่วนที่เรียนนอกห้องเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมนักเรียน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ๒๕๕๐ : ๓) โดยมีขอบข่ายการขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา ๔ ด้าน คือ (๑) ด้านการบริหารจัดการ (๒) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (๓) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ (๔) ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา

สังคมได้คาดหวังว่า สถานศึกษาจะเป็นแหล่งที่หล่อหลอมและสร้างผู้เรียน ให้มีความดี ความเก่ง และมีความสุข ท่ามกลางสังคมซึ่งกำลังประสบวิกฤตหลายๆ ด้านในปัจจุบัน ความคาดหวังดังกล่าวนั้น เป็นหน้าที่ของสถานศึกษาซึ่งต้องปฏิบัติอยู่แล้ว ประกอบกับได้รับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการให้จัดการศึกษาโดยใช้ “คุณธรรมนำความรู้” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา (ความรู้คู่คุณธรรม) โดยมุ่งผลสมดุลและยั่งยืน (เศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม) ดังนั้นสถานศึกษาที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักการในการบริหารจัดการ และจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนย่อมสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคม ตอบสนองต่อนโยบายของหน่วยเหนือ รวมทั้งสามารถผลิตผู้เรียนที่มีคุณลักษณะตรงตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๔๒ คือ ดี เก่ง และมีความสุขได้ และประการสำคัญที่สุดคือ ได้น้อมนำพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านกือเม็ง ผู้บริหาร พร้อมด้วยคณะครูและบุคลากรในโรงเรียน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาดังกล่าว จึงได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมโดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๖ จนถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาของการดำเนินงาน มีความมุ่งหวังในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการใน การบริหารจัดการ เพื่อให้โรงเรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในทุกภาคส่วนเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ส่งผลให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มีส่วนร่วม มีความตระหนักเข้าใจ และสามารถนำหลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน พร้อมรับมือ การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันก่อให้เกิดความตระหนักและฝังรากลึกภายในตนเองและผู้อื่นอย่างยั่งยืนตลอดไป

๒. วัตถุประสงค์

๒.๑ เพื่อบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๒.๒ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนบ้านกือเม็ง ให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืน

๓. วิธีดำเนินการ

การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกือเม็ง ดำเนินการโดยใช้กระบวนการ PDCA เป็นตัวขับเคลื่อน มีวิธีการดำเนินงานดังนี้

๓.๑ ศึกษาทฤษฎีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านกือเม็ง ศึกษาทฤษฎี

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และกรอบการดำเนินการ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สู่สถานศึกษาอย่างละเอียด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้

๓.๑.๑ กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควร

จะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

๓.๑.๒ คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ใน

ทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

๓.๑.๓ คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ความพอเพียง

ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง หากขาดองค์ประกอบใดก็ไม่เป็นความพอเพียงที่สมบูรณ์ ความพอประมาณ (Moderation) คือ ความพอดีที่ไม่สุดโต่ง และการยืนได้บนขาของตนเอง (self-reliant) เป็นการดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง โดยมีการกระทำไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไปในมิติต่างๆ การใช้จ่ายการออมอยู่ในระดับที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง เป็นสิ่งที่ทำให้เราทำอะไรเต็มตามศักยภาพ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เพื่อเป็นการยืนได้โดย ลำแข้งของตนเอง ความมีเหตุมีผล (reasonableness) หมายความว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ ที่มีความพอประมาณในมิติต่างๆ จะต้องมีสติรอบรู้คิดถึงระยะยาว ต้องมีเป้าหมายและวิธีการ ที่เหมาะสม มีความรู้ในการดำเนินการ มีการพิจารณาจากเหตุปัจจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ต้องเป็นการมองระยะยาว ตลอดจนคำนึงถึงผลกระทบของการกระทำและความเสี่ยง จะทำให้มีความพอประมาณทั้งในปัจจุบันและอนาคต การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว (Self-immunity) หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับ ผลกระทบและพลวัตในมิติต่างๆ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในสภาวะต่างๆ อย่างรวดเร็วขึ้น จึงต้องมีการเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ การกระทำที่เรียกได้ว่าพอเพียง ไม่คำนึงถึงเหตุการณ์และผลในปัจจุบัน แต่จำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ภายใต้ข้อจำกัดของข้อมูลที่มีอยู่ และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และการมีภูมิคุ้มกันจะทำให้มีความพอเพียงแม้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ถึงจะมีเหตุการณ์ที่ แย่ที่สุดก็รับมือได้ทั้งนี้หากจะมีความพอเพียง

๓.๑.๔ เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น

ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

๓.๑.๔.๑ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ อย่าง

รอบด้านในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นประโยชน์พื้นฐาน เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติอย่างพอเพียง การมีความรอบรู้ย่อมทำให้มีการตัดสินใจที่ถูกต้อง ทั้งนี้รวมถึงความรอบคอบ ความระมัดระวัง คือมีการวางแผนโดยสามารถที่จะนำความรู้และหลักวิชาต่างๆ มาพิจารณาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันและความมีสติตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ในการนำแผนปฏิบัติ ที่ตั้งอยู่บนหลักวิชาต่างๆ เหล่านั้นไปใช้ในทางปฏิบัติ โดยมีการปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคมด้วย

๓.๑.๔.๒ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนัก

ในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งครอบคลุมคนทั้งชาติ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ นักธุรกิจ มีสองด้าน คือ ด้านจิตใจ ปัญญาและด้านการกระทำ ด้านแรกนั้นเป็นการเน้นความรู้คู่คุณธรรมตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรอบรู้ที่เหมาะสม ส่วนด้านการกระทำหรือแนวทางดำเนินชีวิต เน้นความอดทน ความเพียร สติปัญญา และความรอบคอบ เงื่อนไขนี้จะทำให้การปฏิบัติตามเนื้อหาของความพอเพียงเป็นไปได้ ทำให้ตนเองไม่มีความโลภ และไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือสังคม เพราะการมีความโลภจะทำอะไรสุดโต่ง ไม่นึกถึงความเสี่ยง ไม่รู้จักพอ มีโอกาสที่จะกระทำการทุจริต

๓.๑.๕ แนวทางปฏิบัติหรือผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

จากที่ได้กล่าวมา สรุปได้ว่า การนำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา เพื่อประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้เกิดผลในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ส่งผลสู่การดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

หากจะสรุปโครงสร้างปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ชัดเจนขึ้น สามารถแสดงได้ในรูปข้างล่างนี้

ภาพที่ ๑ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ๒๕๕๐ : ๒๕

จากรูปนี้สามารถสรุปได้ว่า ปรัชญานี้เป็นสามห่วง สองเงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุ

มีผล และการมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความพอเพียง ส่วนความรู้ คุณธรรมเป็นเงื่อนไข

๓.๒ ศึกษาทฤษฎีวงจรคุณภาพ (PDCA)

วงจรคุณภาพ (PDCA) เป็นกิจกรรมที่จะนำไปสู่การปรับปรุงงาน และการควบคุมอย่างเป็นระบบ อันประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การนำแผนไปปฏิบัติ (Do) การตรวจสอบ (Check) และการปรับปรุงแก้ไข (Action) กล่าวคือ จะเริ่มจากการวางแผน การนำแผนที่วางไว้มาปฏิบัติ การตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ และหากไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหมายไว้ จะต้องทำการทบทวนแผนการโดยเริ่มต้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง และทำตามวงจรคุณภาพซ้ำอีก เมื่อวงจรคุณภาพหมุนซ้ำไปเรื่อยๆ จะทำให้เกิดการปรับปรุงงานและทำให้ระดับผลลัพธ์สูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การกระทำตามวงจรคุณภาพจึงเท่ากับการสร้างคุณภาพที่น่าเชื่อถือมากขึ้น โดยจุดเริ่มต้นของวงจรคุณภาพอยู่ที่การพยายามตอบคำถามให้ได้ว่า ทำอย่างไรจึงจะดีขึ้น รายละเอียดมีดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑ การวางแผน (Plan) ในบรรดาองค์ประกอบทั้ง ๔ ประการของวงจรคุณภาพนั้น ต้องถือว่าการวางแผนเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด การวางแผนจะเป็นเรื่องที่ทำให้กิจกรรมอื่นๆ ที่ตามมาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล เพราะถ้าแผนการไม่เหมาะสมแล้ว จะมีผลทำให้กิจกรรมอื่น ไร้ประสิทธิผลตามไปด้วย แต่ถ้ามีการเริ่มต้นวางแผนที่ดีจะทำให้มีการแก้ไขน้อย และกิจกรรมจะ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขั้นตอนที่ ๒ การนำแผนไปปฏิบัติให้เกิดผล (Do) เพื่อให้มั่นใจว่ามีการนำแผนการไป

ปฏิบัติอย่างถูกต้องนั้น เราจะต้องสร้างความมั่นใจว่าฝ่ายที่รับผิดชอบในการนำแผนไปปฏิบัติได้รับทราบถึงความสำคัญและความจำเป็นในแผนการนั้นๆ มีการติดต่อสื่อสารไปยังฝ่ายที่มีหน้าที่ในการปฏิบัติอย่างเหมาะสม มีการจัดให้มีการศึกษาและการอบรมที่ต้องการเพื่อการนำแผนการนั้นๆ มาปฏิบัติ และมีการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นในเวลาที่จำเป็นด้วย

ขั้นตอนที่ ๓ การตรวจสอบ (Check) การตรวจสอบและประเมินผลลัพธ์ของการปฏิบัติตามแผน ควรจะต้องมีการประเมินใน 2 ประการ คือ มีการปฏิบัติตามแผนหรือไม่ หรือตัวแผนการเองมีความเหมาะสมหรือไม่ การที่ไม่ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้เป็นเพราะไม่ปฏิบัติตามแผนการ หรือความไม่เหมาะสมของแผนการ หรือจากทั้งสองประการรวมกัน เราจำเป็นต้องหาว่าสาเหตุมาจากประการไหน ทั้งนี้เนื่องจากการนำไปปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไขจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ขั้นตอนที่ ๔ ปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไข (Action) ถ้าความล้มเหลวมาจากการวางแผนที่ไม่เหมาะสม การทบทวนแผนการเท่านั้นไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการวางแผน โดยการหาปัจจัยที่ไม่เหมาะสม สาเหตุของการวางแผน และทำการปฏิบัติการแก้ไขความก้าวหน้าของการปรับปรุงจะเกิดขึ้นได้ โดยการกำจัดสาเหตุและขั้นตอนที่สำคัญ ก็คือ การทบทวนแผนการที่ต้องมีการชี้บ่งถึงสาเหตุแห่งความล้มเหลวอย่างถูกต้องและมีการเปลี่ยนแปลงแผน เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมไปได้อย่างมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ควรมีการวางแผนการปรับปรุงคุณภาพเป็นรายปี และมีการทบทวนทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าแผนการดังกล่าวมีความเชื่อถือได้และเหมาะสม การนำวงจรคุณภาพไปปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องในทุกระดับขององค์กรจะทำให้เราสามารถปรับปรุงและเพิ่มคุณภาพงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน เมื่อปัญหาเดิมหมดไปเราก็สามารถแก้ปัญหาใหม่ๆ ได้ด้วยวงจรคุณภาพต่อไป

สรุป การบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพเป็นกระบวนการที่ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้

เกิดผลผลิตและบริการที่มีคุณภาพขึ้น โดยหลักการที่เรียกว่า วงจรคุณภาพ (PDCA) หรือวงจรเดมมิ่ง ซึ่งประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ดังนี้

ภาพที่ ๒ โมเดลกระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๓.๓ รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

โรงเรียนบ้านกือเม็ง ได้บริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ตามขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ดังนี้

ขั้นตอนการดำเนินงานที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)

Flow Chart ขั้นตอนการดำเนินงานที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยใช้กระบวนการ PDCA

ไม่ใช่

ใช่

ภาพที่ ๓ Flow Chart แสดงขั้นตอนการดำเนินงานที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ : Best Practices

การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการ PDCA ได้มีลำดับขั้นตอนการการดำเนินงานดังต่อไปนี้

๓..๓.๑ ขั้นประชุมวางแผนและเตรียมการ (Plan)

๓.๓.๑.๑ ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการ PDCA สู่การจัดกิจรรมการเรียนรู้ และร่วมกันวางแผนการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กิจกรรมการเรียนรู้

๓.๓.๑.๒ ร่วมกันวางแผนการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการ PDCA สู่การบริหารจัดการสถานศึกษา

๓.๓.๑.๓ ร่วมกันวางแผนการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการ PDCA สู่หลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน

๓.๓.๑.๔ ร่วมกันวางแผนการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการ PDCA สู่การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๓.๓.๑.๕ ร่วมกันวางแผนการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการ PDCA สู่การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา

๓.๓.๑.๖ ร่วมกันวางแผนและตั้งเป้าหมาย ภาพความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการ PDCA สู่การจัดกิจรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน ประกอบด้วยโครงการและกิจกรรม ดังนี้

๑) โครงการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี

๒) โครงการนิเทศภายใน

๓) โครงการประกันคุณภาพภายใย

๔) โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์และคุณภาพผู้เรียน

๕) โครงการสมานฉันท์สัมพันธ์ชุมชน

๖) โครงการเศรษฐกิจพอเพียง

๗) โครงการพัฒนาบุคลากรสู่มืออาชีพ

๘) กิจกรรมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา/ผู้ปกครองนักเรียน

๙) กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน

๑๐) กิจกรรมกิจกรรมโครงงาน

๑๑) กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ

๑๒) กิจกรรมการเข้าค่ายลูกเสือ-เนตรนารี เป็นต้น

จากที่ได้กล่าวมา สรุปได้ว่า การนำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา เพื่อประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้เกิดผลในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ส่งผลสู่การดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

๓.๓.๒ ขั้นจัดกิจกรรมโครงการตามแผนการดำเนินงาน (DO)

การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านกือเม็ง สู่สถานศึกษาพอเพียง ผู้รายงานได้ดำเนินการตามองค์ประกอบ และตัวชี้วัดความสำเร็จในการติดตามและประเมินผล ๔ ด้าน ซึ่งระบุไว้ในเครื่องมือประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนการสอนและ การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามหนังสือแนวทางการนิเทศเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา ปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔ (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๕๒ : ๘๐ – ๘๔) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

๓.๓.๒.๑ การดำเนินการด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีการดำเนินงานตาม

องค์ประกอบ และตัวชี้วัด ดังนี้

¬๓.๓.๒.๑.๑ องค์ประกอบที่ ๑ นโยบาย

๓.๓.๒.๑.๑.๑ ผู้บริหารสถานศึกษาจัดทำนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา และบูรณาการในแผนปฏิบัติการประจำปี โดยนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเป็นนโยบายของสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของสถานศึกษา แต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการดำเนินการตามนโยบายที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม กำหนดแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา และจัดกิจกรรมครอบคลุมทุกกลุ่มงานอย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงตามบริบทของสถานศึกษา

๓.๓.๒.๑.๑.๒ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาดำเนินการตามนโยบาย และแผนปฏิบัติงานประจำปีที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา โดยการประชุมชี้แจงการนำนโยบายสู่การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการประจำปีให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทราบ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมกับแต่ละโครงการที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพความเป็นจริง โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ฝ่ายงานทั้ง ๔ ฝ่ายงาน ทุกโครงการและกิจกรรม ดังนี้

๑) โครงการคาราวานเสริมสร้างเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง

๒) โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่อาเซียน

๓) โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์และคุณภาพของผู้เรียน โดยมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การศึกษาแหล่งเรียนรู้ การเข้าค่ายลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรม Open house

๔) โครงการวิถีอิสลาม

๕) โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน

๖) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

๗) โครงการพัฒนาปรับปรุงภูมทัศน์ สิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น เศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดทำบ่อเลี้ยงปลาดุก การปลูกผัก การเพาะเห็ด

๘) โครงการภูมิปัญญาชุมชนสู่ห้องเรียน ได้แก่ การตัดผม การทำผ้า บาติก การจัดขันหมากและอื่นๆ

๓.๓.๒.๑.๑.๓ ผู้บริหารสถานศึกษามีการติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปี ที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา โดยแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปี สร้างเครื่องมือวิธีการติดตามผลที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ติดตามผล การปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง

๓.๓.๒.๑.๒ องค์ประกอบที่ ๒ วิชาการ

๓.๓.๒.๑.๒.๑ ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรม ด้านวิชาการ ที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน โดยดำเนินการจัดทำแผนงานด้านวิชาการที่ส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่การเรียนการสอน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนส่งเสริมงานวิชาการ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมและจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนในการดำเนินการตามแผนส่งเสริมงานวิชาการอย่างพอประมาณ และเป็นเหตุ เป็นผล แผนส่งเสริมงานวิชาการมีโครงการ กิจกรรม ครอบคลุมทุกกลุ่มงานและทุกระดับชั้น และมีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังนี้

๑) โครงการคาราวานเสริมสร้างเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง

๒) โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่อาเซียน

๓) โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์และคุณภาพของผู้เรียน โดยมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การศึกษาแหล่งเรียนรู้ การเข้าค่ายลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรม Open house

๓.๓.๒.๑.๒.๒ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาดำเนินการตามแผนงาน โครงการ กิจกรรมด้านวิชาการ ที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียน การสอน โดยจัดประชุมชี้แจงการดำเนินการตามแผนงาน โครงการ กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริม การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทราบ มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการ กิจกรรม ตามแผนส่งเสริมงานวิชาการ

๓.๓.๒.๑.๒.๓ สถานศึกษามีการติดตามผล การดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน โดยแต่งตั้งผู้รับผิดชอบการติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนส่งเสริมงานวิชาการ มีเครื่องมือ วิธีการติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนส่งเสริมงานวิชาการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนงาน และเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา

๓.๓.๒.๑.๓ องค์ประกอบที่ ๓ งบประมาณ

๓.๓.๒.๑.๓.๑ ผู้บริหารสถานศึกษาวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดทำแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา และมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการบริหารงบประมาณอย่างเหมาะสม ดำเนินการตามแผน มีการจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม และเป็นเหตุเป็นผลสำหรับแต่ละโครงการ กิจกรรม การจัดสรรงบประมาณคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และผลที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว ได้แก่

๑) โครงการพัฒนาระบบการเงินและพัสดุ โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี การบริหารจัดการงบประมาณตามนโยบายเรียนฟรีและงบประมาณทั้งหมด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิผลเกิดประสิทธิภาพ โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้

๓.๓.๒.๑.๓.๒ ครูและบุคลากรทางการศึกษาดำเนินการตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการเบิกจ่ายงบประมาณและใช้ทรัพยากรตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบการเบิกจ่ายได้ทุกโครงการและทุกกิจกรรม มีการติดตามผลการใช้งบประมาณตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม และความซื่อสัตย์สุจริต ในการใช้งบประมาณตามแผนงบประมาณของสถานศึกษา และมีการรายงานผลการติดตามผลการใช้งบประมาณแก่ผู้บริหารสถานศึกษาทราบ นำผลการติดตามมาพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการงบประมาณตามข้อเสนอ รายงานและแจ้งให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับทราบผลการแก้ไขปรับปรุง พัฒนาการบริหารจัดการงบประมาณตามที่ได้ดำเนินการแล้ว

๓.๓.๒.๑.๔ องค์ประกอบที่ ๔ บริหารทั่วไป

๓.๓.๒.๑.๔.๑ ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารอาคารสถานที่และจัดการ แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ การใช้ การดูแลรักษา ปรับปรุงอาคารสถานที่ และจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสม ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีส่วนร่วมในการใช้และดูแลรักษา ปรับปรุงอาคารสถานที่ และจัดการ แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสม ใช้ประโยชน์อาคารสถานที่สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ ในสถานศึกษาอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่มีอยู่อย่างพอเพียง มีการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้ประโยชน์ ได้แก่

๑) การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เช่น การปลูกผักสวนครัว การปลูกมะนาว การเลี้ยงปลาดุก การเพาะเห็ด การทำผ้าบาติก การตัดผม รวมทั้ง การจัดตกแต่งอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

๓.๓.๒.๒ การดำเนินการด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน มีการดำเนินงาน

ตามองค์ประกอบ และตัวชี้วัด ดังนี้

๓.๓.๒.๒.๑ องค์ประกอบที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๓.๓.๒.๒.๑.๑ สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดแทรกหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกระดับชั้น โดยมีและใช้หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้ครบทุกระดับชั้นที่เปิดสอน โดยให้คณะครูทุกคนจัดทำหน่วยการเรียนรู้เป็นกลุ่มสาระ การเรียนรู้ ผู้บริหารและฝ่ายวิชาการตรวจสอบความถูกต้อง ความสอดคล้องของหน่วยการเรียนรู้ตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คณะครูนำหน่วยการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระ และทุกระดับชั้น

๓.๓.๒.๒.๑.๒ ผู้บริหารสถานศึกษามีการนิเทศติดตาม ประเมินผล การนำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดแทรกหน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารสถานศึกษาและฝ่ายวิชาการจัดทำแผนและเครื่องมือในการนิเทศติดตามประเมินผล มีการบันทึกผลการดำเนินงาน ฝ่ายวิชาการจัดทำรายงานผลการนิเทศติดตามประเมินผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อผู้บริหาร นำผลการนิเทศติดตามประเมินผลไปปรับปรุงพัฒนา การจัดการเรียน การสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ

๓.๓.๒.๒.๑.๓ สถานศึกษามีการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียน การสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินการสำรวจศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนสภาพของปัญหาปัจจัยที่มีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พิจารณาเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาปรับปรุง พัฒนา การจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ดียิ่งขึ้น นำข้อเสนอแนะมาแก้ไขปัญหา ปรับปรุง พัฒนาการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถเป็นแบบอย่างได้

๓.๓.๒.๒.๒ องค์ประกอบที่ ๒ การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน

๓.๓.๒.๒.๒.๑ คณะครูจัดทำแผนจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ทุกระดับชั้น คณะครูส่งแผนการจัดการเรียนรู้ให้ ฝ่ายวิชาการและผู้บริหารสถานศึกษา ตรวจสอบ เสนอแนะในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คณะครูจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่นักเรียนทุกกลุ่มสาระ และทุกระดับชั้น โดยเน้น ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี และเงื่อนไข ความรู้และคุณธรรม ให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

๓.๓.๒.๒.๒.๒ ผู้บริหารสถานศึกษาและฝ่ายวิชาการควบคุมคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ มีคุณภาพอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครบทุกระดับชั้น

๓.๓.๒.๒.๒.๓ สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สามารถบอกถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการเรียนรู้ แต่ละครั้ง และสามารถสร้างองค์ความรู้ที่ได้จากเรียนรู้ โดยสอดแทรกการมีคุณธรรมประจำตัว

๓.๓.๒.๒.๓ องค์ประกอบที่ ๓ สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๓.๓.๒.๒.๓.๑ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้คณะครู จัดหา ผลิต และใช้สื่อใน การเรียนรู้เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน โดยส่งเสริม การใช้สื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เน้นการใช้อย่างคุ้มค่า เน้นความพอประมาณ การมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี นำไปใช้เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับนักเรียน ส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ดีให้กับนักเรียน โดยมีโครงการและกิจกรรมตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี เช่น

๑) กิจกรรมห้องสมุดมีชีวิต

๒) กิจกรรมวันภาษาไทย

๓) กิจกรรมจัดหาสื่อและผลิตสื่อการเรียนการสอน

๓.๓.๒.๒.๓.๒ ผู้บริหารสถานศึกษาจัดทำ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

๑) การทำแปลงเกษตรพอเพียงเพื่อให้นักเรียนได้ทำการเกษตร การทำ บ่อซีเมนต์เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การเลี้ยงปลาดุก การปลูกมะนาวด้วยบ่อซีเมนต์ การเพาะเห็ด การเลี้ยงไก่ และอื่นๆ เป็นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๓.๓.๒.๒.๔ องค์ประกอบที่ ๔ การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๓.๓.๒.๒.๔.๑ ผู้บริหารสถานศึกษาและฝ่ายวิชาการได้ดำเนินการจัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูนำไปใช้ในการวัดผลและประเมินผลครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ นำผลที่ได้จากการวัดผลและการประเมินผลด้วยเครื่องมือมาใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้อยู่อย่างพอเพียง

๓.๓.๒.๒.๔.๒ คณะครูใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลายและสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำผลที่ได้จากการวัดผลและการประเมินผลมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้อยู่อย่างพอเพียง

๓.๓.๒.๒.๔.๓ คณะครูรายงานผลการประเมิน และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ผู้เรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ และนำผลการประเมิน ไปปรับปรุงพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

๓.๓.๒.๓ การดำเนินการด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการดำเนินงานตาม

องค์ประกอบ และตัวชี้วัด ดังนี้

๓.๓.๒.๓.๑ องค์ประกอบที่ ๑ การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

๓.๓.๒.๓.๑.๑ สถานศึกษากำหนดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อสนับสนุนการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดแผนงานแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้มีกิจกรรมงานต่างๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีผู้รับผิดชอบการดำเนินการตามแผนงานแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วม ในการกำหนดแผนงานแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีโครงการ กิจกรรมที่ดำเนินการสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เข่น

๑) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การแนะแนว ทุนการศึกษา การเยี่ยมบ้าน

๒) โครงการเด็กดีมีเงินออม

๓.๓.๒.๓.๑.๒ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ผู้เรียนได้รู้จักศักยภาพของตนเอง เข้าใจสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงของชุมชนสังคมและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมการวางแผนชีวิต ทั้งด้าน การเรียน และการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา และสอดคล้องกับสภาพ ของโรงเรียน ชุมชน จนทำให้ผู้เรียนสามารถใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเลือกประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อเพื่อให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เข่น

๑) โครงการภูมิปัญญาชุมชนสู่อาชีพ

๒) โครงการสมานฉันท์สัมพันธ์ชุมชน

๓) กิจกรรมรอมฎอนสัมพันธ์

๓.๓.๒.๓.๑.๓ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดให้มีระบบดูแลช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม ครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมในระบบดูแลช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน มีผู้รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่องจริงจังและพัฒนาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ เช่น กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน การให้ทุนการศึกษา

๓.๓.๒.๓.๑.๔ ผู้บริหารสถานศึกษามีการติดตามผล การจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยแต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการติดตามผลการจัดกิจกรรมแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน มีเครื่องมือวิธีการติดตามผล การจัดกิจกรรมแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่หลากหลาย และสอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของสถานศึกษา มีการรายงานผลการติดตามผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา นำผล การติดตามมาใช้ตามแนวทางข้อเสนอที่ได้จากการพิจารณา รายงานและแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงผลการแก้ไขปรับปรุงพัฒนากิจกรรมแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามที่ได้ดำเนินการ

๓.๓.๒.๓.๒ องค์ประกอบที่ ๒ กิจกรรมนักเรียน

๓.๓.๒.๓.๒.๑ ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดแผนงานโครงการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนให้อยู่อย่างพอเพียง โดยดำเนินการจัดทำแผนงานโครงการ กิจกรรม และแต่งตั้งผู้รับผิดชอบใน การดำเนินการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงานโครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนให้อยู่อย่างพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี มีครูผู้รับผิดชอบดำเนินการกิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารีของสถานศึกษา มีความเหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน จัดกิจกรรมที่หลากหลาย และสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา เช่น การเข้าค่ายลูกเสือ-เนตรนารี

๓.๓.๒.๓.๒.๒ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชุมนุมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดตั้งชุมนุม ชุมนุมเกิดจากความสนใจและสมัครใจของนักเรียน มีกิจกรรมที่หลากหลายและสอดคล้องกับสภาพบริบทของสถานศึกษา เช่น

๑) ชุมนุมกีฬา

๒) ชุมนุมทำอาหาร

๓) ชุมนุมงานประดิษฐ์

๔) ชุมนุมศิลปะ เป็นต้น

๓.๓.๒.๓.๒.๓ ผู้บริหารสถานศึกษามีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม หลักคำสอนทางศาสนา ในการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ ศาสนสถาน ปราชญ์ชาวบ้าน บุคลากร ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ส่งผล ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า ภูมิใจ และร่วมเชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น หลักคำสอน ทางศาสนาที่ตนนับถือ ดังนี้

๑) กิจกรรมรอมฎอนสัมพันธ์

๒) โครงการสมานฉันท์สัมพันธ์ชุมชน นำนักเรียนไปแหล่งเรียนรู้ในชุมชน การปฏิบัติศาสนกิจที่มัสยิด การทำอาหารพื้นบ้าน การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ การทำปุ๋ยหมัก เป็นต้น นอกจากนี้ได้เชิญวิทยากรท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่อง การทำอาหารพื้นบ้าน การทำขันหมาก เป็นต้น

๓.๓.๒.๓.๓ องค์ประกอบที่ ๓ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

๓.๓.๒.๓.๓.๑ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมตามความสนใจของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วม ในการจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา ที่มีความหลากหลายสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรม และครอบคลุมทุกระดับชั้นที่เปิดสอน ได้แก่

๑) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในห้องเรียน

๒) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น การพัฒนามัสยิด การพัฒนาสุสาน

๓) การมอบของใช้แก่ผู้ยากจน การบริจาคต่างๆ เป็นต้น

๓.๓.๒.๓.๓.๒ ผู้บริหารสถานศึกษาติดตามผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยแต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมใน การติดตามผล มีการรายงานผลการติดตามผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง คณะครูนำผลการติดตามมาปรับปรุงพัฒนาตามแนวทางข้อเสนอแนะที่ได้จากการพิจารณา รายงานและแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงผลการแก้ไขปรับปรุงพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของผู้เรียนตามที่ได้ดำเนินการ

๓.๓.๒.๔ การดำเนินการด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีการดำเนินงานตาม

องค์ประกอบและตัวชี้วัด ดังนี้

๓.๓.๒.๔.๑ องค์ประกอบที่ ๑ การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๓.๓.๒.๔.๑.๑ ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดแผนงาน โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนงาน โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และชี้แจงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้การดำเนินการอย่างทั่วถึง แผนงาน โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ครอบคลุมทุกกลุ่มงาน ได้แก่ โครงการพัฒนาบุคลากรสู่มืออาชีพ

๓.๓.๒.๔.๑.๒ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ สถานศึกษาจัดการประชุมอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานและแหล่งเรียนรู้ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา นำผลมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรในสถานศึกษา ส่งเสริม การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร ได้แก่ การศึกษาดูงาน การจัดอบรมให้กับคณะครู ได้แก่ เรื่องหลักสูตรสถานศึกษา การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนรู้ การประเมินคุณภาพภายใน เป็นต้น

๓.๓.๒.๔.๑.๓ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้บุคลากรของสถานศึกษาแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน มีการ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ และการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม ดำเนินการจัดนิทรรศการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน

๓.๓.๒.๔.๒ องค์ประกอบที่ ๒ การติดตามและขยายผล

๓.๓.๒.๔.๒.๑ ผู้บริหารสถานศึกษา และฝ่ายวิชาการติดตามผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมพัฒนาบุคลากร เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการติดตามผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมพัฒนาบุคลากร มีเครื่องมือวิธีการติดตามผลการดำเนินโครงการ กิจกรรม โดยใช้เครื่องมือวิธีการที่จัดทำขึ้น และมีการรายงานผลการติดตามการดำเนินงานแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ครูและบุคลากรทางการศึกษานำผลการติดตามมาปรับปรุงพัฒนา แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาการดำเนินโครงการให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

๓.๓.๓ ขั้นการประเมินผลรวมของโครงการ/กิจกรรม (Check)

๓.๓.๓.๑ ดำเนินการประเมินผลการดำเนินการบริหารโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา แต่ละขั้นตอนว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

๓.๓.๓.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศการปฏิบัติงานตามนโยบายการบริหารงานวิชาการ ในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารสถานศึกษา

๓.๓.๓.๓ นิเทศติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติตนของครูตามนโยบายสำคัญในการน้อมนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในโรงเรียน

๓.๓.๓.๔ นิเทศติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของครูตามกระบวนการ ขั้นตอน กิจกรรมในการน้อมนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในโรงเรียน

๓.๓.๓.๕ นิเทศติดตาม ตรวจสอบระบบการวัดผล ประเมินผลของครูในการน้อมนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในโรงเรียน

๓.๓.๓.๖ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสรุปผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกือเม็ง ตามองค์ประกอบและตัวชี้วัดความสำเร็จ ๔ ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ซึ่งมีรายละเอียด ดังปรากฎในตารางที่ ๑

ตารางที่ ๑ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้

กระบวนการ PDCA สู่สถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านกือเม็ง

องค์ประกอบ ระดับคะแนน

๑. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา

๑. นโยบาย ๘๗.๕๐

๒. วิชาการ ๘๗.๕๐

๓. งบประมาณ ๙๓.๗๕

๔. บริหารทั่วไป ๘๗.๕๐

คะแนนเฉลี่ยของรายด้านที่ ๑ ๓.๗๓

๒. ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

๑. หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๘๓.๓๔

๒. การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๘๗.๕๐

๓. สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๘๓.๓๔

๔. การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลัก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๘๗.๕๐

คะแนนเฉลี่ยของรายด้านที่ ๒ ๓.๔๒

๓. ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑. การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ๘๕.๐๐

๒. กิจกรรมนักเรียน ๘๗.๕๐

๓. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๘๑.๒๕

คะแนนเฉลี่ยของรายด้านที่ ๓ ๓.๓๙

๔. ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา

๑. การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๙๓.๗๕

๒. การติดตามและขยายผล ๗๕.๐๐

คะแนนเฉลี่ยของรายด้านที่ ๔ ๓.๓๘

คะแนนเฉลี่ยรวม ๓.๓๔

จากตารางที่ ๑ ภาพรวมการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้

กระบวนการ PDCA สู่สถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนบ้านกือเม็ง ทั้ง ๔ ด้าน พบว่า มีผลการบริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๔ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๗ ส่วนด้านด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดสุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๓๘

๓.๓.๔ ขั้นการพัฒนาปรับปรุง (Action)

๓.๓.๔.๑ นำผลการตรวจสอบประเมินผล มาจัดทำให้เป็นมาตรฐาน และดำเนินการหาวิธีการที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นไป

๓.๓.๔.๒ นำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และพิจารณาดำเนินการแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นและนำผลที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาต่อไป

๔. ผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน

จากการดำเนินการที่ได้กล่าวมาข้างต้น การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านกือเม็ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ ยังส่งผลให้ เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และสถานศึกษา ดังนี้

๔.๑ ด้านผู้เรียน ได้รับ

๔.๑.๑ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้น

๔.๑.๒ ผู้เรียนได้เรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกกลุ่มสาระ และทุกระดับชั้น

๔.๑.๓ ผู้เรียนได้เข้าร่วมในโครงการ กิจกรรม ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกโครงการและกิจกรรม

๔.๑.๔ ผู้เรียนปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อ การเปลี่ยนแปลง ในด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ผู้เรียนเป็นแบบอย่างในการมีวินัยในการใช้จ่าย มีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ ดำเนินชีวิตประจำวันโดยไม่เบียดเบียน หรือสร้างความเดือดร้อนให้ตัวเอง ผู้อื่น มีส่วนร่วมในการดูแลการใช้ประโยชน์จากสาธารณะสมบัติ

๔.๑.๕ ผู้เรียนปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม ผู้เรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเห็นคุณค่า และภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ประเพณี ศาสนา และประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการรักษา วัฒนธรรมไทย และมรดกของชุมชน สังคม ตลอดจนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้สถานศึกษา ชุมชน สังคม ดำเนินการรักษาวัฒนธรรมไทย และมรดกของชุมชน สังคม

จากผลที่เกิดกับผู้เรียนดังกล่าว ทำให้นักเรียนได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้

๑. เด็กหญิงนูรคอลาตี แวมะชัย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับรางวัล

ชนะเลิศจากการประกวด การคัดอาหรับแบบสร้างสรรค์ (Khat Kreatip) กิจกรรมเสริมหลักสูตรงานมหกรรมวิชาการจังหวัดชายแดนใต้ ประจำปี ๒๕๕๗ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ จากการประกวดการคัดอาหรับแบบสร้างสรรค์ (Khat Kreatip) กิจกรรมเสริมหลักสูตรงานมหกรรมวิชาการจังหวัดชายแดนใต้ ประจำปี ๒๕๕๗ จากสำนักงานศึกษาธิการภาค ๑๒

๔.๒ ด้านครู ได้รับ

๑. นางสาวแวซัลมา อับดุลฮานุง ครูโรงเรียนบ้านกือเม็ง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ

อันดับ ๑ จากการประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษาดีเด่นประเภทครูผู้สอน/ระดับปฐมวัย ตามโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษาดีเด่นรางวัล “เพชรเสมายะลา เขต ๑” ประจำปี ๒๕๕๗ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑

๒. นางพอสีหย๊ะ กือจิ ครูโรงเรียนบ้านกือเม็ง ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ จากการประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษาดีเด่นประเภทครูผู้สอน/สาระการเรียนรู้อิสลามศึกษา ตามโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษาดีเด่นรางวัล “เพชรเสมายะลา เขต ๑” ประจำปี ๒๕๕๗ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑

๓. นางสาวแวซัลมา อับดุลฮานุง ครูโรงเรียนบ้านกือเม็ง ได้รับรางวับระดับ เหรียญทอง ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ ในการประกวดนวัตกรรมส่งเสริมภาษาไทยระดับปฐมวัย เรื่อง “การส่งเสริมพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือภาพทำมือกับลูกเต๋าหรรษา”

๔.๓ ด้านผู้ปกครองและชุมชน ได้รับ

๔.๓.๑ ผู้ปกครอง และชุมชน มีความศรัทธาในการจัดการศึกษา เกิดความเชื่อมั่นต่อนโยบายการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ส่งผลต่อการมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน

๔.๓.๒ ผู้ปกครอง และชุมชน ใช้บริการ และแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน มีส่วนร่วมใน การดำเนินการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

๔.๓.๓ ผู้ปกครอง และชุมชน เป็นปราชญ์ชาวบ้านในการให้ความรู้เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับนักเรียน และส่งเสริมงานวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๔.๓.๔ ผู้ปกครอง และชุมชน ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทั้งในโรงเรียน และชุมชน ให้ความร่วมมือในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนและชุมชน

๔.๔ ด้านสถานศึกษา ได้รับ

๔.๔.๑ สถานศึกษามีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยดำเนินการจัดทำแผนงานด้านวิชาการให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่การเรียนการสอน

๔.๔.๒ สถานศึกษามีหลักสูตรที่สอดแทรกหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้ครบทุกระดับชั้นที่เปิดสอน

๔.๔.๓ สถานศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครบทุกระดับชั้น

๔.๔.๔ สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และบุคลากรรวมถึงผู้เรียนมีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพื้นฟูวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ประเทศชาติอย่างต่อเนื่องจนได้รับรางวัลชมเชยการประกวดภูมิทัศน์ บรรยากาศ และสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ประจำปี ๒๕๕๘ ประเภทสถานศึกษาขนาดกลาง

๔.๔.๕ สถานศึกษาได้รับป้าย บ้านวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ตามโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ปีการศึกษา ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙

๔.๔.๖ สถานศึกษาได้รับรางวัล “สถานศึกษาพอเพียง ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖” จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๔.๔.๗ สถานศึกษาได้รับรางวัล ประเภทดีเยี่ยม โครงการประกวดโรงเรียนต้นแบบด้านการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดยะลา ประจำปี ๒๕๕๘ โรงเรียนกลุ่มที่ ๑ ที่เข้าร่วมโครงการ ปี ๒๕๕๗

จากผลการดำเนินงานจากการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกือเม็ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ ดังกล่าวสรุปได้ว่า โรงเรียนบ้านกือเม็งได้นำการบริหารจัดการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารงานของโรงเรียน ส่งผลให้การพัฒนาบุคลากรทุกฝ่าย ทั้งครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนมีความเข้าใจถึง “ความพอเพียง” และ“การพึ่งตนเอง” จากการเรียนรู้และปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท การทำงานเป็นทีมโดยมีการจัดสรรงานกันในกลุ่ม เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในโรงเรียน เกิดทักษะการคิด วางแผนและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เกิดความรักและสามัคคีในโรงเรียน การขยายผลการเรียนรู้จากนักเรียนไปสู่ผู้ปกครองและชุมชน เกิดแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต ทุกคนเข้ามาร่วมเรียนรู้และลงมือปฏิบัติได้จริง ทำให้เกิดความยั่งยืนในการนำความรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมให้เกิดขึ้นทุกภาคส่วนต่อไป

๕. ข้อเสนอแนะ

จากการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน

บ้านกือเม็ง มีข้อเสนอแนะที่เกิดจากการดำเนินงาน ดังนี้

๕.๑ สถานศึกษาควรดำเนินการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาจนเป็นศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๕.๒ ควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนให้ชัดเจนมากขึ้น เช่น โรงเรียนแกนนำ โรงเรียนต้นแบบ กับโรงเรียนอื่นๆ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาของบุคลากร เช่น ครูแกนนำกับครูอื่นๆ

๕.๓ ส่งเสริมให้มีการประเมิน ตรวจสอบ การดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ และมีการแก้ไข ปรับปรุง การดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

๕.๕ ควรจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาต่อยอด ที่เกี่ยวกับคุณธรรมที่นักเรียนสามารถปฏิบัติได้จริงและโดดเด่น เช่น กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาและส่งเสริม คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ คุณธรรมด้านความมีน้ำใจ และคุณธรรมด้านความประหยัด

๖. การเผยแพร่ผลงานที่ประสบผลสำเร็จ

๖.๑ เผยแพร่ทาง website ครูบ้านนอกดอทคอม

๖.๒ เผยแพร่ทาง website ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑

๖.๓ เผยแพร่โดยการส่งผลงานไปยังสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑

ลงชื่อ .............................................. ผู้ขอรับการประเมิน

(นายอรรถกานต์ อุศมา )

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกือเม็ง

วันที่ ๒๐ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๕๒). คู่มือการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนการสอน

และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ ๒๕๕๒.

กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ถวัลย์ มาศจรัส. (๒๕๕๐). MODEL การจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง.

กรุงเทพฯ : ธารอักษร.

ประภาพร สุปัญญา. (๒๕๕๐). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจริงของแกนนำ

หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดขอนแก่น. มปท.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๕๐). บันทึก สพฐ. ๒๕๕๐/๒๐๐๗. กรุงเทพฯ :

คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (๒๕๕๐). แนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฉบับที่ ๑๐ (๒๕๕๐ – ๒๕๕๔). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โพสต์โดย ตาด : [16 มิ.ย. 2559 เวลา 19:09 น.]
อ่าน [5560] ไอพี : 118.172.56.65
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โพสต์โดย

คุณ -

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 9,020 ครั้ง
อาหารบำรุงรอบเดือน
อาหารบำรุงรอบเดือน

เปิดอ่าน 86,485 ครั้ง
ประเภทของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ประเภทของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

เปิดอ่าน 32,008 ครั้ง
รู้ไหมว่า...ประเทศไทยโชคดีที่ตั้งอยู่บน "เส้นศูนย์สูตรสนามแม่เหล็กโลก"
รู้ไหมว่า...ประเทศไทยโชคดีที่ตั้งอยู่บน "เส้นศูนย์สูตรสนามแม่เหล็กโลก"

เปิดอ่าน 36,442 ครั้ง
ทำ "แผลแห้ง-แผลเปียก" ถูกวิธี
ทำ "แผลแห้ง-แผลเปียก" ถูกวิธี

เปิดอ่าน 9,531 ครั้ง
ปัดฝุ่น "สถาบันฝึกหัดครู" พัฒนาพลเมืองการศึกษาศตวรรษ 21
ปัดฝุ่น "สถาบันฝึกหัดครู" พัฒนาพลเมืองการศึกษาศตวรรษ 21

เปิดอ่าน 28,247 ครั้ง
การพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (ตามระเบียบสำนักนายกฯ)
การพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (ตามระเบียบสำนักนายกฯ)

เปิดอ่าน 15,267 ครั้ง
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 มีนาคม 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 มีนาคม 2552

เปิดอ่าน 17,198 ครั้ง
วิธีการลบบาง URL ออกจากช่อง Address
วิธีการลบบาง URL ออกจากช่อง Address

เปิดอ่าน 18,391 ครั้ง
ชมพูภูคาพันธุ์ไม้หายากของโลก
ชมพูภูคาพันธุ์ไม้หายากของโลก

เปิดอ่าน 33,707 ครั้ง
FOCUS ประเด็นจาก PISA : การศึกษาเวียดนาม: ทำไมนักเรียนจึงมีผลการประเมินสูง
FOCUS ประเด็นจาก PISA : การศึกษาเวียดนาม: ทำไมนักเรียนจึงมีผลการประเมินสูง

เปิดอ่าน 14,619 ครั้ง
PowerPoint ชี้แจงตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
PowerPoint ชี้แจงตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)

เปิดอ่าน 10,640 ครั้ง
ตูนส์ศึกษา : การศึกษาระดับประถมวัยของไทยคือการเตรียมพร้อมหรือการทำร้ายเผ่าพันธุ์มนุษย์
ตูนส์ศึกษา : การศึกษาระดับประถมวัยของไทยคือการเตรียมพร้อมหรือการทำร้ายเผ่าพันธุ์มนุษย์

เปิดอ่าน 21,643 ครั้ง
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ.2561
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ.2561

เปิดอ่าน 15,923 ครั้ง
ติดกาแฟทั้งที อย่างนี้ต้องดื่มให้ฉลาด
ติดกาแฟทั้งที อย่างนี้ต้องดื่มให้ฉลาด

เปิดอ่าน 27,383 ครั้ง
ลักษณะวลีและประโยคพื้นฐาน
ลักษณะวลีและประโยคพื้นฐาน

เปิดอ่าน 12,408 ครั้ง
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2552
เปิดอ่าน 17,865 ครั้ง
กาฬโรคปอด Pneumonic Plague
กาฬโรคปอด Pneumonic Plague
เปิดอ่าน 9,211 ครั้ง
ปลุกพลังเยียวยาตัวเอง ด้วยเคล็ดลับจากแดนอาทิตย์อุทัย
ปลุกพลังเยียวยาตัวเอง ด้วยเคล็ดลับจากแดนอาทิตย์อุทัย
เปิดอ่าน 37,115 ครั้ง
การวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย
การวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย
เปิดอ่าน 30,464 ครั้ง
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลธรรมดา
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลธรรมดา

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ