ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชันกำลังสองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โดยใช้ชุดการสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD
ผู้วิจัย นางกัลยาวีร์ เอกวารีย์ โรงเรียนประชาพัฒนศึกษา
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดการสอน รายวิชาคณิตศาสตร์ ค 32101 เรื่องฟังก์ชันกำลังสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2)เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดการสอน รายวิชาคณิตศาสตร์ ค32101 เรื่องฟังก์ชันกำลังสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุด การสอน รายวิชาคณิตศาสตร์ ค32101 เรื่องฟังก์ชันกำลังสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิธีการวิจัยได้ประยุกต์ใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง แบบที่มีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว และมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาพัฒนศึกษา อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 34 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนประชาพัฒนศึกษาศึกษา อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 กลุ่มที่เลือกเรียนแผนคณิต วิทย์ จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบสอน เครื่องมือที่ใช้คือชุดการสอน เรื่องฟังก์ชันกำลังสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้สาระคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 32101 เรื่องฟังก์ชันกำลังสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 แผนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องฟังก์ชันกำลังสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการคำนวณหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้ t test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค
STAD ประกอบชุดการสอน รายวิชาคณิตศาสตร์ ค 32101 เรื่องฟังก์ชันกำลังสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เท่ากับ 95.05/87.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้
เทคนิค STAD ประกอบชุดการสอน รายวิชาคณิตศาสตร์ ค 32101 เรื่องฟังก์ชันกำลังสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 0.7929 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ซึ่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.29
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้
เทคนิค STAD ประกอบชุดการสอน รายวิชาคณิตศาสตร์ ค 32101 เรื่องฟังก์ชันกำลังสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ค่าเฉลี่ยหลังเรียน ( x ) = 26.20 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ( x ) = 11.65 นั่นคือ การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ ค32101เรื่องฟังก์ชันกำลังสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน
กิตติกรรมประกาศ
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชันกำลังสอง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดการสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD
ซึ่งใช้ประกอบการพิจารณาให้ข้าราชการครูมีหรือเลื่อนวิทยฐานะเป็นครูเชี่ยวชาญ
ขอขอบพระคุณ ผศ.ดร. ชวลิต ชูกำแพง ผศ.ดร.ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน ผศ.ดร.สมบัติ ท้ายเรือคำ รศ.จำเริญ อุ่นแก้ว นางเกิดศิริ ทองนวล คณะผู้เชี่ยวชาญที่กรุณาตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้
ขอขอบพระคุณคณะครูและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ให้การสนับสนุนเป็นกำลังใจและให้ความร่วมมือในการพัฒนาและจัดทำเอกสารฉบับนี้
คุณความดีที่เกิดจากความตั้งใจ และความมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศชาติ ขอมอบเป็นเครื่องสักการะ แด่บิดา มารดา บูรพาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน
กัลยาวีร์ เอกวารีย์