บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคมมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีมและคณะ ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ผู้ปกครองนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น จำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบท (Context) ในภาพรวมโครงการมีความสอดคล้องกับบริบทในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการสอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของโรงเรียนมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ โครงการสอดคล้องกับสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ โครงการได้รับการสนับสนุนจากวัด ชุมชน และผู้ปกครองมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ด้านปัจจัย (Input) ในภาพรวมปัจจัยของโครงการมีความเหมาะสมในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ครู และบุคลากรให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรให้ความสำคัญกับโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสนับสนุนการดำเนินโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และครูและบุคลากรในการดำเนินโครงการมีความเพียงพอเหมาะสมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวมมีการปฏิบัติตามกระบวนการอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนกำหนดนโยบายให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ โรงเรียนจัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ คณะกรรมการนำข้อมูลมาแบ่งประเภทเป็นหมวดหมู่เพื่อจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกรอบ ๆ โรงเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. ด้านผลผลิต (Product) ในภาพรวมผลผลิตตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่โรงเรียนส่งเสริมให้ครูและนักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากรองลงมาได้แก่ โรงเรียนดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ นักเรียนสามารถนำเสนอข้อมูลความรู้จากการศึกษาแหล่งเรียนรู้ผ่านบทปฏิบัติการ/ใบงานมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด