ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเสียง รายวิชาฟิสิกส์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา
อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฎจักร5E
ผู้วิจัย นายพนมศิลป์ ศรีพุทธา
สถานศึกษา โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเสียง รายวิชาฟิสิกส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฎจักร5E การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้
1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องเสียง รายวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักร 5E ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักร 5E เรื่อง เสียง รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักร 5E เรื่อง เสียง รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน ทั้งนี้เพราะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
มีเพียงห้องเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฎจักร5E เรื่อง เสียง รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 แผน 20 ชั่วโมง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 1.00 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เสียง ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 1.00 ค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.19 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนก (r) เป็นรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.02 - 0.68 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับตามวิธีของ Kuder-Richardson (KR-20) มีค่าเท่ากับ 0.94 และ3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน โดยแยกเป็น 3 ด้าน คือ 3.1) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.2) ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้และ 3.3) ด้านการวัดและประเมินผล จำนวน15 ข้อ หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยวิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟา (α -Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฎจักร5E เรื่อง เสียง รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนที่ได้จากการประเมินผลระหว่างเรียนซึ่งประกอบด้วย การประเมินวัดจุดประสงค์ด้านความรู้ การประเมินผลด้านกระบวนการ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (E1) คิดเป็น ร้อยละ 85.46 ของคะแนนเต็ม และร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (E2) คิดเป็นร้อยละ 84.06 ของคะแนนเต็ม ดังนั้นผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฎจักร5E เรื่อง เสียง รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.46 / 84.06 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฎจักร5E เรื่อง เสียง รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.716 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.60
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฎจักร5E เรื่อง เสียง รายวิชาฟิสิกส์มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจทั้งสามด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก