ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่ากุน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑
ผู้ศึกษา นางประไพ บุญเย็น
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๗
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่ากุน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) พัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ (๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่ากุน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ(๓) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่ากุน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ โรงเรียนบ้านท่ากุน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑ จำนวน ๑๘ คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ห้องเรียนที่ผู้รายงานทำการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีจำนวนทั้งหมด ๕ เล่ม ได้แก่ เล่มที่ ๑ มาตราแม่กน เล่มที่ ๒ มาตราแม่กก เล่มที่ ๓ มาตราแม่กด เล่มที่ ๔ มาตราแม่กบ และเล่มที่ ๕ ตัวตามและตัวการันต์ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๒๘ แผน รวมทั้งสิ้น ๒๘ ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน ๒๐ ข้อ และแบบทดสอบอัตนัย จำนวน ๒๐ ข้อ ๔๐ คะแนน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๐ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (t-test Dependent)
ผลการศึกษา พบว่า
๑. แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ๘๐.๗๕/๘๑.๒๕
๒. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๓. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกด ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่ากุน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑ เฉลี่ยโดยส่วนรวมอยู่ในระดับมากที่สุด