ชื่อเรื่อง การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหนองอียอวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
ผู้วิจัย สรศักดิ์ สีตาชัย
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองอียอวิทยา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหนองอียอวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 2)เพื่อพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหนองอียอวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้แก่ ผู้บริหาร(ผู้วิจัย) ครูที่ปรึกษา และเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 15 คน กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 140 คน การวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการปฏิบัติ และความต้องการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหนองอียอวิทยา ระยะที่ 2 พัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหนองอียอวิทยา ตามองค์ประกอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้าน โดยกลุ่มผู้ร่วมวิจัยร่วมกันเลือกประเด็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ได้แก่ 1)การจัดทำเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล 2)การนำผลการคัดกรองนำมาพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน 3)การมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียน 4)การจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา และความร่วมมือ จากครู ผู้บริหารและผู้ปกครองนักเรียน 5)การประสานงานกับครูที่ช่วยเหลือนักเรียน ภายในโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กลุ่ม แบบบันทึก แบบสังเกต และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพการปฏิบัติ และความต้องการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหนองอียอวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ภาพรวมของสภาพการปฏิบัติการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้ง 5 ด้าน พบว่า ระดับสภาพการปฏิบัติภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ส่วนภาพรวมของความต้องการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้าน ได้เครื่องมือในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เครื่องมือในการคัดกรองนักเรียน ครูที่ปรึกษาดำเนินการคัดกรองนักเรียนและแปลผลจัดกลุ่มนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโฮมรูม แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นผู้นำและผู้ตามบางสถานการณ์ตามความสามารถของตนเอง การอบรมตามโครงการอบรมคุณธรรมนักเรียนโดยภาพรวมมีความพอใจในระดับมาก ครูที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมาก ครูที่ปรึกษาทราบข้อมูลของนักเรียนรายบุคคล มีการคัดกรองนักเรียนแล้วจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียนตรงตามความต้องการและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน การประสานการส่งต่อนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยการส่งต่อภายในระหว่างครูที่รับผิดชอบ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง
Title : The Development of Students Care and Support System Proceeding in
Nong E yor Witthaya School, The Secondary Educational Service Office
Area 33
Author : Mr. Sorasak Seetachai
Position : The director of Nong E yor Witthaya School
Under : The Secondary Educational Service Office Area 33
Year : 2016
Abstract
The objectives of the research were 1) to study performance conditions and needs development of the students care and support system proceeding in Nong E yor Witthaya School, The Secondary Educational Service Office Area 33. 2) to develop the students care and support system proceeding in Nong E yor Witthaya School, The Secondary Educational Service Office Area 33. The research was conducted by Action Research. There were 15 persons included the schools directors, advisors teacher and guardian networks as research teams. The target groups were 140 of junior and senior high school students in Nong E yor Witthaya School. The research was divided into 2 phases, the first phase would study performance conditions and needs development of the students care and support system proceeding in Nong Eyor Witthaya School. The second phase would develop the students care and support system proceeding development into 5 sites. The strategy development issues were chosen by the research teams as follows: 1) arranging data collecting tools, 2) monitoring data, developing and motivating for the students, 3) brain storming for planning the best supported students activities, 4) providing activities for solving the problems and cooperating work together from the teachers, the director and students parents, and 5) cooperating among the teachers to care and support the students in the school. The research tools were used by questionnaire, focus group, interview, recording data form and observation.The statistics data analyzing were used by percentage, average and standard deviation.
The research results were revealed as follows:
The overall of the performance conditions and needs development of the students care and support system proceeding in Nong E yor Witthaya School, the Secondary Educational Service Office Area 33 with 5 factors found that the overall of the performance conditions were at low level, while the needs development of the students care and support system proceeding were at high level. The result of the development students care and support system proceeding according to the strategy development to support students care into five sites were got the individual students data tools, the monitoring student tool. Then students data were monitored by the advisor and classified them in phenomenon group with accuracy. Homeroom activities to keep exchanging idea from each one were participated by the teachers and students. It is practiced to be a leader and a follower in different situations and depending on the ability of the person also. The overall of the moral activity program was pleased at high level. The satisfactions of advisors, parents and student in the students care and support system proceeding were got at high level. The advisors got to know the students individual information and screened them to improve with proper activity. These could bring good relationship between coordinating and sending some bad behavioral student to the caring teachers by getting cooperation in each section respectively.