ชื่อเรื่อง ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความคล้าย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนน้้าพองศึกษา
ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
ผู้วิจัย นายชยพล อุดมผล
ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อ1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความคล้าย โดยใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องความคล้าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ให้มีจ้านวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป และ3) ประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องความคล้าย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนน้้าพองศึกษา จ้านวน 44 คน เนื้อหาที่ใช้วิจัยเป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ รายวิชาค23101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่องความคล้าย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระยะเวลาในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ใช้เวลาจ้านวน 20 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องความคล้าย โดยใช้รูปแบบการ
จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) จ้านวน 9 แผน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ได้แก่ แบบบันทึกผลการปฏิบัติหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใบกิจกรรม ผลงานผู้เรียน แบบตรวจสอบความเข้าใจ และแบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)ในระหว่างการจัดการเรียนรู้ และหลังจากสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) หลังจากสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้ ทั้ง 9 แผน ข้อมูลเชิงคุณภาพ น้าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาเขียนเป็นความเรียง และข้อมูลเชิงปริมาณ ค้านวณหาค่าเฉลี่ย( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (%)
น้าเสนอข้อมูลเชิงปริมาณประกอบความเรียง
ผลการวิจัย พบว่า
1. ศึกษาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความคล้าย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนด้วยการเล่าเรื่อง ใช้สื่อของจริง
รูปภาพ สื่อ PowerPoint สื่อจากโปรแกรม GSPการใช้ค้าถามที่ท้าทาย มีการคาดเดาและการทบทวนความรู้เดิม นักเรียนทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
2) ขั้นส้ารวจและค้นหา นักเรียนเรียนรู้ความคิดรวบยอดเรื่องความคล้าย และน้าความรู้เรื่อง
ความคล้ายไปใช้ จากกิจกรรมที่ครูสร้างขึ้น โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มต้องแบ่งหน้าที่กัน แล้วลงมือปฏิบัติจริงมีการลองผิดลองถูก สังเกต แปลความหมายจากสิ่งที่สังเกตได้ จนได้ข้อสรุปเป็นความคิดรวบยอด หรือวิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับความคล้าย โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ หรือชี้แนะ เมื่อนักเรียนต้องการความช่วยเหลือ และเตรียมสื่อ อุปกรณ์ ให้เหมาะสม เพียงพอ
3)ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป นักเรียนมีการอภิปราย โต้แย้ง ซักถาม แสดงเหตุผล ประเมิน
ความสมเหตุสมผล และตัดสินใจเลือกความคิดรวบยอดหรือวิธีการแก้ปัญหาภายในกลุ่มจนได้ข้อสรุป และเมื่อน้าเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน ก็จะมีการอภิปรายระดับชั้นเรียน เพื่อสรุปความคิดรวบยอดรวมในประเด็นต่าง ๆ ที่พบจากการปฏิบัติกิจกรรม บางครั้งครูชี้น้าแนวทางสู่ข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้นด้วยการใช้ค้าถาม หรือใช้สื่อ
โปรแกรม GSP
4)ขั้นขยายความรู้ การจัดการเรียนรู้ในขั้นนี้มี 2 ลักษณะคือ นักเรียนแต่ละคนน้าความรู้ที่ได้
จากขั้นสรุปไปใช้แก้ปัญหาที่สอดคล้องกับความรู้นั้น และครูเพิ่มเติมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นหรือ
เสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างไป
5)ขั้นประเมิน ในขั้นนี้ประเมินทักษะ กระบวนการ และเจตคติของนักเรียนด้วยการสังเกต
พฤติกรรมขณะจัดการเรียนรู้ และประเมินความรู้ของนักเรียนในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบ
ตรวจสอบความเข้าใจ
2. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องความคล้าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ให้มีจ้านวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เฉลี่ยร้อยละ 70ขึ้นไป พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องความคล้าย ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป มีจ้านวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 79.55เป็นไปตามความมุ่งหมายของการวิจัย
3. ประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องความคล้าย โดยใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความคล้ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ88.33 ของนักเรียนทั้งหมด