ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับรูปแบบวัฏจักร
การเรียนรู้ 7 ขั้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา รักก้าว พลเสนา
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ต้องส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาวิธีคิดทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติการทดลองและค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุดคือ การนำรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้คำถามกระตุ้นความคิดของผู้เรียนในขั้นที่ 2 และในขั้นที่ 3 ผู้เรียนต้องลงมือหาคำตอบเองจากการทดลองหรือจากการสืบค้นข้อมูล และใช้คำถามเพื่อนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ในขั้นที่ 4 , 5 และ 7 เพื่อกระตุ้นและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องบรรยากาศ (ตอนที่ 1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น โดยศึกษาเปรียบเทียบ 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นเรื่อง บรรยากาศ (ตอนที่ 1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 2.2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นเรื่อง บรรยากาศ (ตอนที่ 1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องบรรยากาศ (ตอนที่ 1 ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนพระยืนวิทยาคาร อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องบรรยากาศ (ตอนที่ 1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ชุด
2) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก(B) ตั้งแต่ 0.26 -0.81 ค่าความเชื่อมั่น (rcc) 0.877 4) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก(B) ตั้งแต่ 0.29 0.67 ค่าความเชื่อมั่น (rcc) 0.820 5) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่อง บรรยากาศ (ตอนที่ 1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t (t test Dependent Samples)
ผลการศึกษาปรากฏผลดังนี้
1. ผลการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นเรื่อง บรรยากาศ (ตอนที่1)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบและประเมินความเหมาะสม พบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.57) และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.40 / 81.43
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นเรื่อง บรรยากาศ (ตอนที่1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นเรื่อง บรรยากาศ (ตอนที่1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นเรื่อง บรรยากาศ (ตอนที่1)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.32 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.79
โดยสรุปชุดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นเรื่อง บรรยากาศ (ตอนที่1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเหมาะสม นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างมีคุณภาพ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น