ผลงานทางวิชาการ
เรื่อง ความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้ทำวิจัย
นางสาวเพ็ญศรี อ่อนสูง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานครและศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ตลอดจนศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา2558 จำนวน 631 คน และกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan,อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด,2540:40) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 การกำหนดกลุ่มตัวอย่างวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random sampling) ตามระดับชั้นของนักเรียนและใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random sampling)ได้กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 238 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า
1.ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือครูเอาใจใส่และช่วยแก้ปัญหาของนักเรียนโดยการออกเยี่ยมบ้านเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนของโรงเรียน
ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดงบประมาณ
เพื่อซื้อเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการเรียนการสอนส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การผลิตสื่อเทคโนโลยีสำหรับ
การเรียนการสอนของครู
ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนจัดให้นักเรียนได้
เรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการการจัดงาน
วันสำคัญต่าง ๆ ตามแผนงานของโรงเรียน
ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวัดผลและประเมินผลบุตรหลานของตน
2.ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พบว่าผู้ปกครองนักเรียนที่มี ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ ที่ต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.ข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
ควรส่งเสริมให้คณะบุคลากรได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้และนวัตกรรมให้เป็นระบบและมีความหลากหลายมากขึ้น ควรมีการนิเทศติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรและพัฒนาบุคลากรในด้านการปฏิบัติงานอย่าง ส่งเสริมกำลังใจหรือยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ดี เป็นตัวอย่างให้เพื่อนครูได้รับทราบ ควรจัดกิจกรรมซ่อมเสริมนักเรียนที่อ่านไม่คล่องและอ่านไม่ออกอย่างใกล้ชิด และส่งเสริมให้นักเรียนสร้างผลงานที่ภาคภูมิใจในแฟ้มสะสมงาน
ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ส่งเสริมให้ครูมีความ สามารถในการใช้สื่อ เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน โดยเชิญวิทยากรมาให้การอบรม โรงเรียนจัดให้มีอุปกรณ์และสื่อการสอนต่างๆให้เพียงพอกับจำนวนและความต้องการของนักเรียน ส่งเสริมให้ครูผลิตสื่อเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้และให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสใช้สื่อเทคโนโลยี อย่างทั่วถึง เช่น คอมพิวเตอร์ และแท็ปเล็ต
ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
พยายามให้ครูและนักเรียนได้ศึกษาดูงานนอกสถานที่ บ่อยๆครั้ง ควรให้นักเรียนได้สำรวจแหล่งเรียนรู้ ทั้งในและบริเวณชุมชนใกล้โรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โรงเรียนควรจัดหาครูภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการการสอนในหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน ควรจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง หน่วยงานต่างๆ หรือชุมชนได้จัดการเรียนรู้ร่วมกัน และควรมีการสร้างวัฒนธรรมในองค์กรเป็นองค์กรที่มีการเรียนรู้ตลอดเวลา
ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน
ควรมีการนิเทศ กำกับติดตามให้มีการวัดผลและประเมินผล เป็นไปตามแผนปฏิบัติงาน ควรมีการนำผลการประเมินผลไปปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้ในปีการศึกษาต่อไป ควรมีการประชุมชี้แจงหรือหารือเพื่อให้การดำเนินวัดผลและประเมินผลเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องหันหน้าเข้าหากัน วางแผนแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดการวัดผลที่มีคุณภาพและให้ครูให้ความสนใจในการตรวจการบ้าน ตรวจสมุดงาน ให้ถูกต้อง