ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคิด พินิจเหตุผล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นางสาวอุษา ปานดำ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ปีที่ทำการวิจัย 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียน ก่อนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคิด พินิจเหตุผล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคิด พินิจเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบบการวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัย
เชิงทดลองแบบ One group pretest-posttest design ระยะเวลาในการทดลอง จำนวน 22 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยผ่านการตรวจสอบและประเมินแผนจัดการเรียนรู้
จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 2) แบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคิด พินิจเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งผ่านการตรวจสอบและประเมินจากเชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78
3) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน จำนวน 6 ชุด คือ ชุดที่ 1 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 ชุดที่ 2 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ชุดที่ 3 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87
ชุดที่ 4 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 ชุดที่ 5 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และ
ชุดที่ 6 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 60 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของ
นักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคิด พินิจเหตุผล ที่มีค่า
ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าความยากง่ายและอำนาจจำแนก ค่าความแปรปรวน ค่าความเชื่อมั่นโดย
ใช้สูตร ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบัด ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคิด พินิจเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 81.05/85.92 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเขียนคิด พินิจเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.69