ชื่อเรื่อง การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบไฮสโคปร่วมกับการเรียน
ปนเล่นด้วยชุดแบบฝึกหรรษาเพื่อพัฒนาทักษะด้านจำนวนและตัวเลข ของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) จังหวัดตรัง
ผู้เขียน นางสาวฉลองขวัญ รักรณรงค์
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบไฮสโคปร่วมกับการเรียนปนเล่นด้วยชุดแบบฝึกหรรษาเพื่อพัฒนาทักษะด้านจำนวนและตัวเลข
ของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) จังหวัดตรัง โดยมีความมุ่งหมายคือเพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบไฮสโคปร่วมกับการเรียนปนเล่นด้วยชุดแบบฝึกหรรษาเพื่อพัฒนาทักษะด้านจำนวนและตัวเลข ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบไฮสโคปร่วมกับการเรียนปนเล่นด้วยชุดแบบฝึกหรรษาเพื่อพัฒนาทักษะด้านจำนวนและตัวเลข ของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) สังกัดเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้คือ
แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบไฮสโคปร่วมกับการเรียนปนเล่นด้วยชุดแบบฝึกหรรษาเพื่อพัฒนาทักษะด้านจำนวนและตัวเลข สำหรับนักเรียนปฐมวัย จำนวน 8 หน่วย แบบทดสอบวัดทักษะด้านจำนวนและตัวเลข สำหรับนักเรียนปฐมวัยครอบคลุม 5 ทักษะคือ การรู้จักชื่อตัวเลข การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การนับ และการรู้ค่าตัวเลข จำนวน 25 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบที ( t test )
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบ
ไฮสโคปร่วมกับการเรียนปนเล่นด้วยชุดแบบฝึกหรรษาเพื่อพัฒนาทักษะด้านจำนวนและตัวเลข
ของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) จังหวัดตรัง ที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ปรากฏว่า แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบไฮสโคปร่วมกับการเรียนปนเล่นด้วยชุดแบบฝึกหรรษาเพื่อพัฒนาทักษะด้านจำนวนและตัวเลขที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ91.31/83.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่าง
ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ร้อยละของความก้าวหน้า ปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 33.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของคะแนนเต็ม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบไฮสโคปร่วมกับการเรียนปนเล่นด้วยชุดแบบฝึกหรรษาเพื่อพัฒนาทักษะด้านจำนวนและตัวเลข ของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) จังหวัดตรัง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .001