การประเมินโครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและขับเคลื่อนศูนย์อาเซียนเป็นแหล่ง เรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดสมอราย มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context) ของโครงการ
2. เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input) ที่ใช้ในการดาเนินโครงการ
3. เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ในการดาเนินโครงการ
4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product) ในการดาเนินโครงการ ซึ่งประกอบด้วย ผลการดาเนินงาน
โครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและผู้เรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีแนวทางการพัฒนา 3 ข้อ คือ 4.1 พัฒนาผู้เรียนและบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียน
4.2 พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาบูรณาการอาเซียนศึกษา
4.3 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนศึกษาในสถานศึกษา
5. เพื่อประเมินผลกระทบ (Impact) ที่เกิดขึ้นภายหลังการดาเนินโครงการ ประกอบด้วย
5.1 ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของ โรงเรียนที่มีต่อการดาเนินโครงการ
5.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการดาเนินโครงการ 5.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดาเนินโครงการ
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จานวน 574 คน ประกอบด้วย .ผู้บริหารสถานศึกษา 3 คน จาแนกเป็นผู้อานวยการสถานศึกษา 1คนและรองผู้อานวยการสถานศึกษา 2 คน ครูผู้สอน 45 คน. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 14 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จานวน 256 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จานวน 256 คนและการสนทนากลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จานวน 2 กลุ่มๆ ละ 7 คน รวม 14 คน (รวมอยู่ในจานวนนักเรียน 256 คนที่ตอบแบบประเมิน)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและขับเคลื่อนศูนย์ อาเซียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดสมอราย เป็นแบบประเมินผลการดาเนินโครงการโดยใช้ รูปแบบการประเมินของซิป(CIPP Model)ประกอบด้วยการประเมิน4ด้านได้แก่ด้านบริบทหรือสภาวะ แวดล้อม (Context) ด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) และการ ประเมินผลกระทบ (Impact) ที่เกิดขึ้นหลังจากการดาเนินโครงการ
การดาเนินโครงการ ได้ดาเนินตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กาหนดในโครงการ แล้วนาผลการประเมิน มาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากร ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่ม ประชากร( )ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดพบว่า ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจาแนกเป็นแต่ละรายการพบว่านโยบายของโรงเรียนและนโยบาย ของเทศบาลนครนครราชสีมามีความสอดคล้องกัน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัย (Input) มีการจัดพื้นที่บริเวณโรงเรียนเป็นศูนย์อาเซียนเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการดาเนินกิจกรรมของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการ (Process) กิจกรรมนี้สามารถพัฒนานักเรียนให้ได้รับ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนและเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนได้ มีผลการ ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผลสรุปจากการสนทนากลุ่ม นักเรียนทั้ง 2 กลุ่มมีความเห็นเช่นเดียวกันว่า การเข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและขับเคลื่อนศูนย์อาเซียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของ โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดสมอราย) เป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ ทาให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มประเทศ สมาชิกประชาคมอาเซียน ฝึกการทางานเป็นกลุ่มและสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวันได้ดีและควร จะทาต่อเนื่องต่อไป ด้านผลผลิต (Product) การจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียนและทารายวิชา เพิ่มเติมอาเซียนศึกษา มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินผลกระทบ (Impact) ที่เกิดขึ้น หลังจากการดาเนินโครงการ ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน มีความคิดเห็นว่าการจัดทาศูนย์อาเซียนศึกษาในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีและมีประโยชน์ มีผล การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของผู้ปกครอง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การ ริเริ่มการจัดทาศูนย์อาเซียนศึกษาในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน ท่านเห็นว่าดีและมีประโยชน์ ความพึงพอใจของนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การจัดทา ศูนย์อาเซียนศึกษาในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีและมีประโยชน์
จากผลการประเมินโดยรวมผู้บริหารสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด สอดคล้องกันคือ มีความพึงพอใจและมีความคิดเห็น ว่าโรงเรียนมีความพร้อมเข้าสู่อาเซียนและจัดทาศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มประเทศ สมาชิกประชาคมอาเซียน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีและมีประโยชน์ ควรดาเนินโครงการอย่างต่อเนื่องต่อไป