ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม
ผู้วิจัย นางสาวอมรรัตน์ พิเลิศ
หน่วยงาน โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ยังไม่ประสบผลสำเร็จและ
สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและชีวิตจริงของผู้เรียน อีกทั้งยังไม่ได้รับการฝึกปฏิบัติและส่งเสริมการแสดงออกให้ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณค่า ตามกรอบของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการแสดงออกที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยอย่างแท้จริง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม จำนวน 5 ชุด (2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 22 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยเลือกตอบจำนวน 40 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานการวิจัยด้วย ttest (Independent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.81/86.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม มีค่าเท่ากับ 0.7336 แสดงว่าหลังการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 73.36
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม มีค่าเฉลี่ย 4.52 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ เรื่อง ฟ้อนเผ่ากูย รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม จะช่วยเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะปฏิบัติการรำของผู้เรียนเพิ่มขึ้นในระดับที่เชื่อถือได้ และส่งเสริมเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำกระบวนการเรียนรู้นาฏศิลป์ดังกล่าว ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนให้มีคุณค่าอย่างเหมาะสมต่อไป