ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านหลุบควันเมืองหงส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
ปีที่ดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2558
ผู้ประเมิน นายประเสริฐ อินทะมนต์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหลุบควันเมืองหงส์
บทคัดย่อ
การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหลุบควันเมืองหงส์ ปีการศึกษา 2558 ในครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model เป็นแนวทางในการประเมิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหลุบควันเมืองหงส์ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน เพื่อหา
ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) หาค่าอำนาจจำแนก (Item discriminates) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านสภาพแวดล้อม (Context) พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นว่าสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นว่าปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในขั้นการวางแผนการดำเนินงานตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Output)
4.1 ผลการการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน ประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.2 การประเมินผลประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านคุณภาพผู้เรียน ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก