ชื่อเรื่อง : รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม
ในโรงเรียนวัดจิกลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
ผู้วิจัย : ศุภชัย สุวรรณกนิษฐ
หน่วยงาน : โรงเรียนวัดจิกลาด หมู่ที่ 2 ต.หนองตางู อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
ปีการศึกษา : 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนวัดจิกลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) สำรวจ วิเคราะห์ สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและประชุมบุคลากร จำนวน 15 คน และการศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การสร้างรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนวัดจิกลาด โดยตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสม/ ความเป็นไปได้ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน ตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินการ จำนวน 9 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน ได้ทดลองใช้ในโรงเรียนวัดจิกลาดเพียงแห่งเดียว และ 4) การประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนวัดจิกลาด พิจารณาความคิดเห็นจากผู้บริหารโรงเรียน คณะครูและบุคลากรที่ร่วมทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 15 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน ที่ได้ จากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการประชุมบุคลากร รวมทั้งจากการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง มี 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้คือ 1) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ประกอบด้วย การจัดองค์กรเพื่อการเรียนการสอน การวางแผนองค์กรเพื่อการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน การจัดโครงการพัฒนาบุคลากรและการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน 2) การพัฒนาทีมกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน ประกอบด้วย การรับรู้และค้นหาปัญหา การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผลลัพธ์จากการดำเนินงาน 3) ภารกิจและขอบข่ายการบริหารกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียนประกอบด้วย การบริหาร
บุคคล กิจกรรมการเรียนการสอน และสถานที่ 4) กระบวนการบริหารกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน
ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุม และการติดตามและประเมินผล
2. รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน วัดจิกลาดที่สร้างขึ้น ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านภาวะผู้นำทาง การเรียนการสอน 2) การพัฒนาทีมกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน 3) ภารกิจและขอบข่ายการบริหารกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน และ 4) กระบวนการบริหารกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน ซึ่งรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนวัดจิกลาด ที่ได้สร้างขึ้นนี้ จะปรากฏในคู่มือการดำเนินการ ผลการประเมินรูปแบบพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน ได้ส่งผลให้ผู้บริหาร ครูผู้สอนและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีพฤติกรรมและแนวทางปฏิบัติ การบริหารกิจกรรมลูกเสือ ด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและขั้นตอนการทำงานเป็นทีม สามารถปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนวัดจิกลาด
4. การประเมินรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนวัดจิกลาด หลังจากการทดลอง ยืนยันรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์
Title : THE BOY SCOUT ACTIVITY ADMINISTRATION MODEL BY TEAMWORK
IN WATJIKLAD SCHOOL, NAKHONSAWAN PRIMARY EDUCATION SERVICE
AREA OFFICE 2
Author : MR. SUPACHAI SUWANNAKANIST
Institute : WATJIKLAD SCHOOL, BANPHOT PHISAI DISTRICT, NAKHON SAWAN
Year : 2014
Abstract
This research purposed to develop the boy scout activity administration model by teamwork in Watjiklad school. Research procedure followed 4 steps: 1) identification of component of boy scout activity administrative model by teamwork, based on to survey, analysis, synthesis problems and need current by observation and conferenced of school administrator, teachers and to be relevant personnel, totaling 15, 2) formulation of the boy scout activity administration model by teamwork in Watjiklad school, the verification for its content validity through by 5 experts, verification for its appropriateness and feasibility through by 8 experts, verification for administration in the manual model appropriateness through by 9 experts, 3) experiment of the boy scout activity administration model by teamwork in Watjiklad school 4) evaluation of the appropriateness, feasibility and utilization of the boy scout activity administration model by teamwork in Watjiklad school through of the school administrator, teachers and to be relevant personnel with the total number of 15.
The research finding are as following:
1) The boy scout activity administration model by teamwork in Watjiklad school
consists of the following components : 1) instructional leadership, which comprises namely, organization for instructions, instructional planning, curriculum development and instructional management, personnel development program, instructional measurement and evaluation, 2) the boy scout activity teamwork development in Watjiklad school, which comprises find and awareness problem, data analysis and collecting, operation planning, implementation of work plan, output appraisal, 3) mission and network of boy scout activity teamwork development in Watjiklad school, which administration, personnel department, instructional activity and locality, 4) the boy scout administrative process in school, which comprises planning, organizing, directing, coordinating, controlling and following.
2. The formulated boy scout activity administration model by teamwork in Watjiklad school maintained the 5 components, namely 1) instructional leadership 2) boy scout activity teamwork development in school 3) mission and network of boy scout activity teamwork development in school 4) boy scout administrative process in school. The components and
subcomponent of the formulated model, evaluated as appropriate, are put in the manual of the boy scout administrative model in Watjiklad school for experiment and use.
3. The experiment of the formulated model exerted a positive impact on the Watjiklad
school administrator, teachers, to be relevant personnel and involved; boy scout administrative practices and behaviors associated with boy scout instructional roles in educational context are evident. Watjiklad school personnel and those involved understand and perceive positively the principles and teamwork process, and the model could evidently be put into practice.
4. The evaluation of the formulated the boy scout administrative model in Watjiklad school after experiment yielded the feasibility, appropriateness for application.