ผู้ศึกษา นางสาวสุกันยา บุญล้อม
สถานศึกษา โรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและ
อนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์ จังหวัดหนองคาย จำนวนนักเรียน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster random sampling )เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ 1 ฉบับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ ค่าเฉลี่ย ( )
ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) ค่า E1/E2 ค่าดัชนีประสิทธิผล ( E.I. ) ค่า IOC และค่าที ( t-test Dependent Sample )
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
มีค่าเท่ากับ 78.48/77.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.5354 แสดงว่าผู้เรียนได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 53.54
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.09 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
( S.D. ) เท่ากับ 0.65 ซึ่งอยู่ในระดับมาก