ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการระดมทรัพยากรพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ของโรงเรียนบ้านชี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
ผู้ประเมิน : นายเอกสิทธิ์ กาญจนจันทร์
ปีที่ประเมิน: ปีการศึกษา 2557
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระดมทรัพยากรพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านชี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2 ในด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ เกี่ยวกับ ความสอดคล้องและความเหมาะสมของหลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ เกี่ยวกับความเพียงพอ ความสามารถของบุคลากร และความเหมาะสม ความเพียงพอของสื่อและเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในด้านการวางแผนระบบ การดำเนินงาน การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และการสรุปรายงานผลและข้อเสนอแนะมาพัฒนาปรับปรุงโครงการ และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ เกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย ในการประเมินโครงการระดมทรัพยากรพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านชี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2 ในครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งหมดจำนวน 59 คน จำแนกเป็น ครูจำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 17 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 30 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมผู้บริหารและผู้แทนครู) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการระดมทรัพยากรพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านชี เป็นแบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการระดมทรัพยากรพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านชี ด้านบริบท (Context Evaluation) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สำหรับ ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สำหรับครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation)เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สำหรับครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และฉบับที่ 4 แบบประเมิน ด้านผลผลิต (Product Evaluation) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สำหรับครู นักเรียนและผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ของโรงเรียนบ้านชี พบว่า โดยภาพรวม มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านผลการประเมินทั้ง 4 ด้าน มีรายละเอียด ดังนี้
1. ความคิดเห็นด้านบริบทของโครงการระดมทรัพยากรพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระดมทรัพยากรพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ความคิดเห็นด้านกระบวนการของโครงการระดมทรัพยากรพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ความคิดเห็นด้านผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ของครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก