ชื่อผลงาน รายงานผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางอารีรัตน์ สงวนทรัพย์
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโคกเจริญ ที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ประชากรในการศึกษา ครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านโคกเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา จำนวน 5 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 เรื่องการประดิษฐ์ปลาปักเป้าเริงร่า ชุดที่ 2 เรื่องการประดิษฐ์กังหันล่องหน ชุดที่ 3 เรื่องการประดิษฐ์ เจ้าหนอนหรรษา ชุดที่ 4 เรื่องการประดิษฐ์หมวกปีกกว้าง ชุดที่ 5 เรื่องการประดิษฐ์ที่ใส่ดินสอรูปแบบอิสระ ชุดที่ 6 เรื่องการประดิษฐ์พวงกุญแจนกฮูก 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 แผน 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (μ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ ) และค่า t-test (Dependent)
ผลการพัฒนา พบว่า
1. ชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 6 เล่ม มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) 85.96/ 85.33
2. ผลการเปรียบเทียบการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโคกเจริญ ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 6 เล่ม พบว่าผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ที่มีค่าเฉลี่ย 4.6