ชื่อรายงาน การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์
รหัสวิชา ค 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา อานนท์ มากสุข
สถานที่ศึกษา โรงเรียนวิเชียรมาตุ
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนวิเชียรมาตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 11 แผน 20 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.82 และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ( ) เท่ากับ 0.80 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน (t- test Dependent Samples) ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 82.33/81.92 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.54