ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และ
การหารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้รายงาน นายนวัธน ยอดสุวรรณ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านเนินมะปราง สำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนบ้านเนินมะปราง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประเภทปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 จำนวน 30 ข้อ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมานค่า 5 ระดับ จำนวน 13 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า (t-test แบบ dependent)
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 79.61/79.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.59)