การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) ตรวจสอบรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ 2.1) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาล 1 (ถนนนครนอก) จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า “Khanchana Model” มีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียน การสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นรู้จักปัญหา (Know problems: K) ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (analysis: a) ขั้นที่ 3 ขั้นให้คำแนะนำในการแก้ปัญหา (needs to advise: n) ขั้นที่ 4 ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (comprehend: c) ขั้นที่ 5 ขั้นหาแนวทางในการจัดการปัญหา (handle: h) ขั้นที่ 6 ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา (action: a) ขั้นที่ 7 ขั้นอภิปรายผลและสรุป (needs for summary: n) ขั้นที่ 8 ขั้นนำไปประยุกต์ใช้ (application: a)
2. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Kanchana Model เท่ากับ 80.11/82.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. การจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Kanchana Model มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6758 หรือร้อยละ 67.58
4. หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมากและสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมากและสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Kanchana Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวม ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.71, S.D. = 0.24)